ตอนที่แล้วบทที่ 2 สู่การปฏิวัติ : ตอนที่ 11 ระดมกำลังกองทัพภาคพื้นทวีป (Mobilization of Continental Army)
ทั้งหมดรายชื่อตอน
ตอนถัดไปบทที่ 2 สู่การปฏิวัติ : ตอนที่ 13 ความสงบก่อนพายุจะมา (Calm before the storm)

บทที่ 2 สู่การปฏิวัติ : ตอนที่ 12 อนุสัญญาสมาพันธ์ (Confederation Convention)


อนุสัญญาสมาพันธ์

(Confederation Convention)

เสียงวิ่งดังจากรองเท้าที่กระทบกับพื้นไม้ ประตูห้องถูกผลักเปิดออกด้วยความรุนแรง เผยให้เห็นหญิงสาวในเครื่องแบบขุนนางเดรสยาวสีขาวสง่า เส้นผมสีบลอนด์ทองยาวถึงกลางหลัง ในตาสีอำพันบริสุทธิ์จ้องไปยังผู้ที่นั่งอยู่ในห้อง เป็นชายหนุ่มที่เธอรู้จัก

“ท่านลาส!” เธอเดินมายังโต๊ะทำงานของดักลาสและกล่าว “ท่านกำลังจะทำให้ความร่วมของพวกเรานั้นแตกหัก!”

“คุณหนู- คุณหญิงเฟลิเซีย ช่วยอธิบายก่อนจะได้ไหมครับ?” ลาสหยุดการเขียนเอกสารของตน และหันไปมองเฟลิเซีย ใบหน้าของหญิงสาวเต็มไปด้วยความกังวลใจ แต่ดูเหมือนว่าเธอจะอารมณ์ไม่ดีอีกด้วย

“หนังสือโซ่ตรวน เราทุกคนล้วนรับรู้ว่าทาสเป็นสิ่งที่ควรยกเลิก แต่ว่า!” เฟลิเซียชะงัก “มีผู้ปกครองหลายคนที่มีทาสเป็นของตัว หากพวกเขาปฏิเสธที่จะช่วยเหลือกลุ่มต่อต้าน ทุกสิ่งที่ความสัมพันธ์ที่สร้างมาจะสูญเปล่า เหตุใดยังกล้าที่จะเปิดเผยการเป็นศัตรูต่อระบบทาสกัน!?”

เป็นเรื่องที่ทราบกันทุกคนว่าทาสนั้นเป็นสิ่งที่อยู่มากับอาริกาเซียตั้งแต่ตั้งอาณานิคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่าผู้ปกครองผู้มีอำนาจในอาณานิคมอื่นๆที่มีทาสครอบครองอยู่จำนวนมาก

นอกจากนั้นแล้วมทาสเองก็มาจากการที่พวกเขาไม่สามารถหารายได้และมีชีวิตด้วยตัวเองได้ จึงเป็นเหตุให้พวกเขายอมที่จะแลกชีวิตตัวเองให้กับผู้อื่นเพื่อที่จะมีชีวิตรอดต่อ หากยกเลิกระบบทาสก็เท่ากับว่าพวกเขาสูญเสียแหล่งที่อยู่เดียวของพวกเขาไป

“อย่าลืมชนพื้นเมืองที่ถูกจับไปเป็นทาส และผู้ที่ถูกทำให้เป็นทาสโดยไม่ได้สมัครใจด้วยครับ” ลาสตอบกลับด้วยนํ้าเสียงที่ดูอันตราย สายของชายหนุ่มมองไปยังหญิงสาวตรงหน้าด้วยใบหน้าที่จริงจัง แสดงให้เห็นว่าดักลาสจริงจังกับเรื่องทาสอย่างมาก

“คุณเฟลิเซียการเลิกทาสคือสิ่งที่สำคัญที่สุด สำหรับผมแล้ว” ลาสชะงัก “ทาสเป็นสิ่งที่น่าสะอิดสะเอียน ต่อให้บอกว่าอยากจะเลิกทาสแต่สุดท้ายทำการซื้อทาส พวกนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับคำพูดปากเปล่า ไร้ซึ่งความจริงใจ หากต้องการที่จะปลดทาสก็ต้องเริ่มทันที ต่อให้ถูกมองว่าเป็นพวก(1)หัวรุงแรง แต่อย่างน้อยการเปลี่ยนแปลงจะแสดงผลให้เห็นเองว่าสุดท้ายแล้ว ต่อให้ไม่มีทาส จะรัฐชาติใดก็สามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างยังยื่น”

“เราเข้าใจ… แต่ว่าแรงสนับสนุนของพวกเขานั้น ก็สำคัญเช่นเดียวกัน เพราะงั้นแล้วท่านช่วยรออีกหน่อย ท่านดักลาสช่วยประนีประนอมกับพวกเขาไปก่อน จนกว่าเราจะเห็นท้องฟ้าที่ใสได้หรือไม่?” เฟลิเซียมีนํ้าเสียงที่อ่อนลง เพราะเธอเอง ก็ต้องการเลิกทาสเช่นเดียวกับดักลาสหากแต่เธอมองว่ามันยังไม่สำคัญเท่ากับความสามัคคีของอาริกาเซีย เพราะอีกไม่นานพวกลีโอเนียก็จะรุกรานดินแดนแห่งนี้แล้ว

นายพลแห่งกองกำลังภาคพื้นทวีปนิ่งเฉยอยู่ชั่วครู่ ก่อนตัวเขาจะกล่าวออกมา

" ผมไม่สามารถที่จะทำตามคุณหญิงเพราะว่า…

ท้ายที่สุดการประนีประนอมจะทำให้การเกิดสงครามกลางเมือง

ชายหนุ่มหลับตาลงและพิงกับเก้าอี้ไม้ของตน และนึกถึงสงครามการเมืองที่มาสองฝั่งที่มีความเห็นเรื่องทาสไม่ตรงกัน อาริกาเซียเป็นดินแดนที่ใช้งานทาสจริง แต่อย่างไรก็ตามมันก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากชาวอาริกาเซียรับรู้ถึงความจริงที่ว่า ทาสนั้นไม่ได้สำคัญและไร้สิ้นเปลือง ลาสก็สามารถที่จะเปลี่ยนให้ชาวอาริกาเซียหันมาร่วมมือกับการเลิกทาส ซึ่งลาสก็ตั้งใจว่าจะเปิดเผยตัวเองว่าเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่องระฆังเสรีภาพ

“สงครามการเมือง?” เฟลิเซียเอ่ยขึ้นด้วยความสงสัยหลังได้ยินสิ่งที่ลาสกล่าวมา เธอไม่เข้าใจว่าเหตุใดจึงอาจจะเกิดสงครามการเมืองขึ้น หากไม่เลิกทำการเลิกทาส

“อาริกาเซียมีทาสจำนวนมากที่มาจากชนพื้นเมืองที่ถูกจับโดยนักผจญภัยรับจ้าง ในขณะที่อีกส่วนมาจากต่างทวีป ส่วนน้อยที่เป็นทาสที่มาจากการความสมัครใจ อาริกาเซียที่เกิดใหม่จากอาณานิคม 11 มลรัฐ จะกลายมารัฐชาติที่คุณหญิงเฟลิเซียโหยหา”

“หนึ่งชนชาติ ชาวอาริกาเซีย ดินแดนของชาวเรา” เฟลิเซียพูดด้วยนํ้าเสียงที่นุ่มนวล

“แม้ว่าผมไม่ชอบสิ่งที่คุณเฟลิเซียกล่าวมา แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงมันได้ ความเป็นจริงต้องเรียกว่า สหภาพมากกว่า… ผมเชื่อว่ามลรัฐคงไม่อยากถูกปกครองโดยตรงอย่างแน่นอน” ชายหนุ่มหยิบเอกสารที่เขาเขียนอยู่ให้กับหญิงสาวตรงหน้าโต๊ะของเขาและกล่าว

" รัฐชาติที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่แห่งนี้ มันจะเกิดขึ้นมาจากสัญลักษณ์แห่งอิสรภาพและการปฏิวัติรูปแบบใหม่ รัฐชาติที่มีเอกลักษณ์ของเสรีภาพแต่กลับเป็นรัฐชาติที่มีทาส สุดท้ายแล้วมันก็จะมีการต่อต้านระหว่างสองกลุ่มผู้ที่ต้องการเลิกทาส และผู้ที่ยังคงต้องการทาส มันจะเริ่มลุกลามกลายมาเป็นความขัดแย้งที่ไม่มีวันสูญหาย ” ดักลาสเสริมเหตุผลเพื่อให้เฟลิเซียเข้าใจ

อีกเหตุผลหนึ่งลาสเก็บเอาไว้ในใจ โลกที่เขาจากมาก็มีเหตุการณ์เลิกทาสแบบเดียวกันที่กลายเป็นสงครามการเมืองที่คร่าชีวิตมนุษย์ไปหลายคน เขาไม่อยากจะให้ประเทศที่เกิดใหม่แห่งนี้ประสบพบเจอวิกฤตการณ์ซํ่ารอยประวัติศาสตร์

ความรู้ชาติก่อนช่างสำคัญยิ่ง ลาสหวังว่าเขาจะไม่หลงลืมทุกอย่างจากโลกเดิมของเขา ร่างกายใหม่ของลาสนั้นอายุน้อยกว่าเดิมอย่างมาก ความทรงจำที่มีอยู่ตัวเขาต้องใช้ให้คุ้มค่าที่สุดเท่าที่อายุขัยของตัวเขาจะให้ได้

“ชาติของเราทุกคนสินะ… ท่านสอนเรื่องการเมืองให้แค่นั้นเราก็ดีใจมากแล้ว ขอบคุณท่านดักลาสอีกครั้ง ว่าแต่ว่าสิ่งนี้คือ..” เฟลิเซียถามชายหนุ่มถึงเอกสารในมือของเธอ สายตาของเธอไล่อ่านมันอยู่ขณะหนึ่ง

“อาริกาเซียตอนนี้ยังคงถือตัวเองเป็นอาณานิคมอยู่ การทำให้ตัวเองเป็นรัฐอิสระและสร้างรากฐานคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในตอนที่ลีโอเนียไม่ได้ควบคุม 11 อาณานิคมในตอนนี้ คุณหญิงช่วยเอาไปพูดในที่ประชุมหน่อยนะ!” ลาสประนมมือ แล้วยกมือทั้งสองขึ้นบนหัวของตนและขอร้องหญิงตรงหน้า

“…ยังมีผู้จงรักภักดีหลายคนอยู่ในอาริกาเซีย ถึงแม้ว่าพวกเขาจะไม่โผล่หัวออกจากที่ซ่อนก็ตาม” เฟลิเซียยังคงกังวล ผู้จงรักภักดีแน่นอนว่าผู้ปกครองอย่างนิวลีโอและนิลเฟลก็อาจจะหักหลังพวกเขาอยู่ตลอดเวลาอย่างแน่นอน

“อย่างที่ผมบอกไป แม้ว่าชาวอาณานิคมจะไม่มีการศึกษาที่ทันสมัยเหมือนกับลีโอ แต่พวกเขาก็ไม่ใช่คนโง่…”

……

.

.

.

.

.

.

11 มลรัฐอริสระแห่งอาริกาเซีย

หลังจากการประชุม 1 ตุลา และ 24 ตุลา ของศักราชอองโทราลที่ 3925 ก็ได้มีการจัดตั้งการประชุมครั้งใหม่ในชื่อว่า อนุสัญญาโฟลิโอ ซึ่งถูกเรียกชื่อการประชุมโดยผู้นำตระกูลสกาเล็ต ท่านหญิงเฟลิเซีย สกาเล็ต ผู้ที่ถูกเชิญมาร่วมการประชุมในครั้งนี้ล้วนเป็นผู้ปกครองรัฐอริสระโดยที่มีผู้มีการศึกษา เหล่าปัญญาชนที่ถูกขัดเลือกมาอย่างดี

เป็นการประชุมครั้งใหญ่ที่สุดในอาริกาเซีย รองจากการประกาศอิสรภาพแยกจากลีโอเนีย จำนวนผู้เข้าประชุมในครั้งนี้ไม่มีผู้ใดกล้าขาดหาย ในครั้งแรกที่มีการประกาศก็ดูเหมือนว่าจะมีคนที่ไม่สามารถมาได้ แต่หลังจากการประชุมเริ่มขึ้น ผู้แทนจาก 11 มลรัฐ ผู้ถูกรับเลือกให้เข้าการประชุมในครั้งนี้จำนวน 55 คน

การประชุมของวันแรกเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน วันแรกของการประชุมเป็นการเสนอหัวข้อของที่ประชุม คุณหญิงเฟลิเซียยื่นอยู่หน้าห้อง ในตอนนี้เธอเป็นผู้แทนจากรัฐโฟลิโอ ประธานในที่ประชุมยังคงเป็นดรูว์ แมคคอล เธอหยิบเอกสารของลาสขึ้นมาและเริ่มอธิบาย

“เป็นที่ทราบกันว่าพวกเรานั้นกำลังอยู่ในช่วงเวลาแห่งการเริ่มต้น 11 รัฐอิสระ ไม่สามารถที่จะชนะสหจักรวรรดิด้วยตัวคนเดียวได้ จัดตั้งพันธมิตร? หลงลืมมันไปได้เลยหากความร่วมมือนั้นไม่เป็นหนึ่งเดียวกัน การประชุมในครั้งนี้ถูกจัดตั้งเพื่อสิ่งเดียว คือการจัดตั้งรัฐบาลกลางขึ้นมา!” สิ้นเสียงของหญิงสาว ทั้วห้องก็เต็มไปด้วยเสียงพูดคุยวุ่นวายจากหลายกลุ่ม

“เหตุใดต้องมีรัฐบาลกลางในเมื่อ เราเป็นผู้ปกครองของรัฐ การจัดตั้งรัฐบาลกลางนั้นเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น! เราควรมองไปยังสงครามที่ใกล้มือเสียดีกว่า” ผู้แย้งมาจากเอ็ดเวิร์ด เคลลี่ จากรัฐนิลเฟล ก่อนเริ่มมีเสียงเห็นด้วยจากผู้แทนหลายคน ตอนนี้พวกเขายังไม่แน่ใจที่จะสามารถเข้าชนะลีโอเนียได้ เหตุใดจะต้องมาประชุมในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับการศึกกันด้วย

“หรือว่าท่านหญิงสกาเล็ตต้องการควบคุมยึดอำนาจเป็นของตัวเอง!?” หนึ่งในผู้แทนนิลเฟลตั้งคำถาม

อย่างไรก็ตามเฟลิเซียเลือกที่จะไม่ตอบกลับ เพราะกลุ่มที่กล่าวขัดนั้นมีจำนวนน้อยกว่าที่เธอคาดเอาไว้ เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ปัญญาชนของแต่ละรัฐมีความคิดที่ต้องการรัฐบาลกลางจำนวนมาก แน่นอนว่ากลุ่มที่สนับสนุนสุดโต่งก็จะเป็นผู้ที่เป็นผู้แทนที่มาจากพ่อค้าซึ่งเคยอาศัยนอกอาริกาเซีย

เอ็ดเวิร์ด ผู้แย้งต่อการประชุมในครั้งมีใบหน้าที่ไม่สบอารมณ์ โดยอย่างยิ่งที่ผู้แทนของเขาบางคนเห็นด้วยกับที่ประชุม การจัดตั้งรัฐบาลจึงถูกยอมรับในหมู่ผู้แทนทุกรัฐ แม้แต่รัฐนิวลีโอ หรือนิลเฟลที่ผู้ปกครองจะขัด แต่ผู้แทนภายในเห็นด้วย

ประธานที่ในที่ประชุมเริ่มกล่าวตามที่เฟลิเซียได้ให้เอกสารเอาไว้

“อนุสัญญาโฟลิโอจะถูกจัดขึ้นในอีกสามวันข้างหน้า ผู้แทนจากมลรัฐทั้ง 11 สามารถยืนแผนและเริ่มอภิปราย และสามารถโต้แย้งเพื่อความสมบูรณ์แบบที่สุด การรวมตัวของอาริกาเซียจะเป็นเอกภาพ มิได้หละหลวมอย่างที่ศัตรูเราคิด”

...

ก่อนจะมีการเริ่ม อนุสัญญาโฟลิโอ เหล่าผู้มีความรู้จาก 11 มลรัฐ ต่างแยกกันเป็นกลุ่มเพื่อก่อตั้งแผนร่างปรับให้เข้ากับรัฐบาลใหม่นี้ หรือรัฐบาลใหม่นี้จะหน้าตาเป็นอย่างไร อย่างไรก็ตามก็มีส่วนน้อยที่จบการศึกษาจากอัลชลาฟไวส์ ระบบการปกครองนั้นเป็นรูปแบบขุนนางหรือตระกูล หากจะเปลี่ยนการปกครองให้อำนาจกับใครที่ไหนก็ไม่รู้ พวกเขาก็คงต้องคิดหนักอย่างมาก

และหากการปกครองรูปแบบที่พวกเขาคิดขึ้นมา อำนาจสูงสุดจะไปอยู่ที่รัฐใดในอาริกาเซีย การถกเถียงและแบบร่างนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก อุปสรรคสำคัญก็คือรูปแบบการปกครอง ที่จะสามารถรวบรวม 11 รัฐอาริกาเซียให้เข้ากันได้ นอกจากการจัดตั้งสภาโดยแต่ละรัฐมีเสียงเป็นของตัวเอง ทำเฉกเช่นเดียวกับพันธมิตรที่มีการแยกปกครองเป็นของตัวเอง

ในขณะที่อีกกลุ่มซึ่งเป็น รัฐเล็กต่างรวมตัวกันออกแบบรัฐบาลกลางที่สามารถให้อำนาจกับตนเองให้เท่ากับรัฐที่ใหญ่กว่า สภาในตอนนี้อาจจะต้องมีการถ่วงอำนาจเพื่อไม่ให้มีเขตปกครองที่มีอำนาจจนมากเกินไป แต่ก็ต้องการกองกำลังป้องกันดินแดนที่เป็นศูนย์กลาง

ท้ายที่สุด เวลาก็ได้สิ้นสุดลง การว่างแผนร่างรัฐบาลกลางจะถูกเปิดเผยในที่ประชุม

วาเลเรียน  แชมเบอร์ส แห่งรัฐนิวลีโอ เสนอแผนนิวลีโอ ซึ่งกลุ่มรัฐที่ใหญ่สนับสนุน

แผนนิวลีโอ ร่างรูปแบบปกครองออกเป็นแบบรัฐบาลกลางที่มี 1 สภานิติบัญญัติ เหมือนกับลีโอเนีย สภาชิกสภามาจากตัวแทนรัฐในอาริกาเซียทั้งหมด สภานิติบัญญัติมีอำนาจในการออกกฎหมาย แต่ปกครองโดยผู้นำรัฐบาลที่มาจากผู้แทนจากรัฐที่มีอำนาจสูงสุด จำนวน 2 คน อย่างไรก็ตามแผนที่ว่ามานี้ ถูกแก้ไขโดยผู้ปกครองมากกว่าผู้แทนของตน

เทลลามาซีร์ แมคคอล แห่งรัฐโจเซ เสนอแผนโจเซ สนับสนุนโดยรัฐที่มีขนาดเล็กและกลุ่มต่อต้านลีโอจำนวนหนึ่ง

แผนโจเซ เป็นแผนที่ตรงข้ามกับแผนนิวลีโอ ถูกร่างด้วยคนที่มีความรู้ ซึ่งเป็นพ่อค้าและผู้ที่มีการศึกษา รวมไปถึงผู้ปกครองที่ยอมให้พวกผู้แทนของตนช่วยกันเขียนร่างขึ้น รูปแบบรัฐบาลกลางที่มี 2 สภานิติบัญญัติ หนึ่งสภาของประชาชน กับ สภาของผู้มีอำนาจ ซึ่งจะขัดอำนาจด้วยกันเอง สภาประชาชนจะช่วยออกกฎหมาย แต่สภาของผู้มีอำนาจจะเป็นคนเลือกสรร

ทั้งสองแผนถูกนำขึ้นมาในที่ประชุมก่อนจะเริ่มทำการอภิปราย ซึ่งผู้แทนในที่ประชุมสามารถบอกความไม่พอใจ ความต้องการแก้ไขความกังวล เพื่อที่จะเพิ่มแรงสนับสนุนและลดแรงสนับสนุนของแต่ละฝ่าย หรือไม่ก็ช่วยกันแก้ไขการร่างรัฐบาลกลางในครั้งนี้ให้ดีกว่าเดิม

อย่างไรก็ตาม วันประชุมครั้งแรก กลับมีเพียงแค่ 10 รัฐเท่านั้นที่เข้าร่วม โฟลิโอกลับไม่เข้าร่วมการประชุมทำให้หลายคนรู้สึกไม่พอใจที่ผู้เสนอการร่างรัฐบาลกลับไม่ยอมเข้าร่วมการประชุม การแก้ไขแผนร่างรัฐบาลการดำเนินตต่อไปอีกหลายสัปดาห์ ยังไม่สามารถหาผลลัพธ์ที่ดีที่สุดได้

ทุกครั้งที่การประชุมไม่คืบหน้า ก็จะทำการเลื่อนการลงคะแนนเสียงออกไปครั้งละ 3 วัน จนกระทั่งกลางเดือนพฤศจิกายน ศักราชอองโทราลที่ 3925 ก่อนจะถึงเดือนธันวาที่หนาวแน็บ เฟลิเซียก็ได้เข้ามาในที่ประชุมอีกครั้ง และคราวนี้เธอมาพร้อมกับชุดเอกสารจำนวนมาก

หญิงสาวมีใบหน้าที่นิ่งเฉย แต่ในตาสีอำพันนั้นดูแรงกล้า ทุทุกคนในที่ประชุมนั่งเงียบให้เฟลิเซียเริ่มการอภิปราย เธอเสนอแผนร่างรัฐบาลกลางที่ไม่มีใครคาดคิด ทุกสิ่งที่เธอกล่าวล้วน

เป็นสิ่งที่ทำให้อองโทราลพลิกกลับหัวกลับหาง

แผนสมาพันธรัฐ ไม่มีผู้ใดทราบถึงความจริงที่ว่า มันถูกร่างขึ้นโดยดักลาสเพียงคนเดียว ด้วยความรู้ที่มี ดักลาสร่างรัฐบาลกลางขึ้นมาโดยมีต้นแบบจากรัฐบาลกลางพื้นฐานของอเมริกา โดยที่มีการดัดแปลงเพื่อให้ได้ผลผลิตที่แตกต่างจากเดิม เพราะอย่างไรก็ตามตอนนี้ลาสสามารถสร้างระบบประชาธิปไตยที่ปลอดภัยและมั่นคงได้ แต่ไม่ใช่ (2)ประชาธิปไตยโดยตรง

ระบบการปกครองที่แบ่งเป็น 3 ฝ่าย ฝ่ายนิติบัญญัติ รัฐสภาแบบสองสภา ซึ่งทำให้กลุ่มรัฐเล็กอย่างเทลลามาซีร์แห่งโจเซได้ยกยิ้มขึ้น ฝ่ายบริหารนำโดยคนคนเดียว ฝ่ายตุลาการนำโดยศาลสูงสุด ทุกฝ่ายร่วมใช้อำนาจรัฐโดยที่สามารถตรวจสอบและถ่วงดุลกันเพื่อไม่ให้ฝ่ายใดมีอำนาจจนเกินไป การทดลองที่แปลกใหม่บนอาริกาเซียจะถูกให้กำเนิดโดยสภานิติบัญญัติประจำจังหวัดแห่งนี้และเฟลิเซียจะทำให้มันเกิดให้ได้

เมื่อการเสนอแผนร่างสมาพันธรัฐถูกเสนอ เสียงค้านและกังวลก็เต็มไปหมด แต่เฟลิเซียก็สามารถตอบกลับได้ทุกครั้ง เฟลิเซียยังคงขุ่นเคืองกับดักลาสที่เสนอให้รัฐบาลกลางกระจายอำนาจ มากกว่าอำนาจรวมศูนย์จนทำให้ทั้งสองต้องเถียงกันหลายชั่วโมง

แผนของดักลาสนั้นถูกสร้างเพื่ออนาคต แต่ก็ต้องมีการตรวจสอบโดยเฟลิเซียและกลุ่มต่อต้านหลายๆคน เพราะว่าสิ่งที่พวกเขาต้องการที่แท้จริง ก็คือเป้าหมายที่ชัดเจนที่สุดในตอนนี้ อิสรภาพจากลีโอเนีย อย่างไรก็ตาม ลาสรู้ว่าหากไม่มีรัฐบาลกลาง พวกเขาก็จะไม่มีการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ หากจะเอาชนะศัตรูก็ต้องใช้ การประสานงานระหว่างทุกชาวอาริกาเซียอันเป็นหัวใจหลัก

“ถึงแม้ว่ามันดูบ้ามาก ที่จะสร้างรัฐของประชาชนขึ้นมาบนโลกแห่งอำนาจนิยมแต่นี่คือการปฏิวัติ ไม่ใช่ของผม แต่เป็นของพวกเรา” คำพูดสุดท้ายของดักลาสก่อนเฟลิเซียจะเข้าที่ประชุม


กลับมาแล้วเจ้าค่ะ! ติด Covid ไปหลายวัน ร่างกายเน่าจนไม่สามารถทำงานที่เยอะแยะได้ แน่นอนว่ารวมไปถึงการเขียนนิยายด้วย…

ตอนนี้ร่างกายกลับมาปกติแล้ว จะรีบอัปลงตอนใหม่ๆทันที ต้องขออภัยที่หายไปนานด้วยเจ้าค่ะ! ขอบคุณทุกคนที่ยังคงติดตามอยู่ ทุกความคิดเห็นในช่องคอมเม้นท์ทำให้รู้สึกมีกำลังใจมากๆเลยเจ้าค่ะ!

(1)หัวรุนแรง (Radical) : หมายถึงบุคคลที่สนับสนุนการปฏิรูปการเมืองหรือสังคมที่รวดเร็ว หรือผู้ที่แสดงถึงเจตนาที่จะเปลี่ยนแปลงหรือแทนที่หลักการพื้นฐานของสังคมระบบการเมือง ส่วนมากจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคงหรือโครงสร้างต่างๆ โดยการปฏิวัติหรือการปฏิรูปที่รุนแรงมากๆ

(2)ประชาธิปไตยโดยตรง (Direct Democracy) : รูปแบบการปกครองหนึ่งของประชาธิปไตย ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะสามารถตัดสินใจนโยบายหรือกฎหมายโดยไม่มีผู้แทนจากการเลือกตั้ง ซึ่งแตกต่างระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน (เป็นประชาธิปไตยที่บริสุทธิ์ที่ทำได้ยากมากๆเจ้าค่ะ)

0 0 โหวต
Article Rating
0 Comments
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด