ตอนที่แล้วบทที่ 2 สู่การปฏิวัติ : ตอนที่ 28 ความฝันและสันติภาพอาริกาเซีย (Aricassia Dream and Peace)
ทั้งหมดรายชื่อตอน
ตอนถัดไปบทที่ 2 สู่การปฏิวัติ : ตอนที่ 30 เพื่อเป็นผู้นำที่ดี (To be a Good Leader) (Completet)

บทที่ 2 สู่การปฏิวัติ : ตอนที่ 29 การเลือกตั้งครั้งแรกของอาริกาเซีย (The First Aricassia Elections)


การเลือกตั้งครั้งแรกของอาริกาเซีย

(The First Aricassia Elections)

1 ธันวาคม ศักราชอองโทราลที่ 3930

มันต้องใช้เวลาเกือบเป็นปีๆ ที่อาริกาเซียจะเข้าสู่สมัยแห่งความสันติที่แท้จริง สงครามปฏิวัติ หรือเรียกสงครามประกาศอิสรภาพอาริกาเซีย จบอย่างเป็นทางการใน 24 พฤศจิกายน 3929 แม้ว่าในสหจักรวรรดิจะเรียกกันว่า การก่อกบฏอาริกาเซีย แต่ข้อเท็จจริงที่ว่าลีโอเนียเป็นผู้แพ้สงครามก็ไม่อาจจะลบเลือนได้ สิ้นสุดสงคราม เฟลิเซียภายในคำขอของดักลาส เสนอในที่ประชุมให้ทำการปลดประจำกองทัพภาคพื้นทวีปทันที แน่นอนว่ามันผ่านสภานิติบัญญัติประจำจังหวัดอย่างรวดเร็ว กองกำลังภาคพื้นทวีปถูกยุบทิ้งทันทีเมื่อสงครามจบ ถูกเปลี่ยนให้เหลือเพียงไม่กี่หน่วยที่ต้องสามารถเรียกมาปกป้องสาธารณรัฐเมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงได้ทันท่วงที

เมื่อไม่มีสงคราม ดักลาสก็ได้เตรียมการปลดตัวเองออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการสูงสุดต่ออย่างต่อเนื่อง หลายคนมองว่าชายหนุ่มต้องการที่จะเกษียณเพื่อไปทำอย่างอื่น ทำให้หลายคนมองดักลาสไปในทางที่ดียิ่งกว่าเดิม…

ก่อนที่ตัวผู้บัญชาการสูงสุดของกองกำลังภาคพื้นทวีปจะลาออก ดักลาสได้ทำการพูดคุยกับกองกำลังที่เหลืออยู่เป็นครั้งสุดท้าย การประกาศของดักลาสดำเนินการในศูนย์บัญชาการกองกำลังทั้งในช่วงสงคราม หรือค่ายทหารกองพลที่ 1 โฟลิโอ ซึ่งตอนนี้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นค่ายตะวันออก (Eastern Camp) เป็นชื่อเรียกในช่วงสงครามของทหารฝึกหัดซึ่งค่ายตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองบอสตัน ในอนาคตมันจะกลายเป็นสถาบันเตรียมทหารที่แรกของสมาพันธรัฐ

“ฟัง!!” เสียงตะโกนหยุดชะงักสักครู่ “ผมมีเรื่องที่จะพูด ไม่ได้เยอะแยกจนเปลืองเวลาทำงานของพวกคุณอย่างแน่นอน” กล่าวโดยชายหนุ่มในเครื่องแบบนายพลอาริกาเซียสีนํ้าเงินเต็มยศ (เครื่องแบบเหมือนกับลีโอเนียเพียงแค่เปลี่ยนสีแดงเวนิสเป็นน้ำเงินเข้ม) เสียงหัวเราะของนายทหารบางคนดังเป็นฉากห

ดักลาส แมรี่แลนด์ ชายผู้ซึ่งไม่คิดไม่ฝันว่าจะกลายมาเป็นทหารซึ่งตัวเขาเองก็ไม่ค่อยถูกด้วยนัก บัดนี้กลายมาเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของเหล่าทหารของสมาพันธรัฐ ไร้ซึ่งเสียงพูดคุยเหล่าทหารชายหญิงตั้งแถวรอฟังที่ดักลาสจะกล่าวพูด แน่นอนว่าลาสไม่ลืมที่เปิดโอกาสให้ชาวบอสตัน หรือประชาชนของรัฐชาติใหม่ได้เดินทางมาฟังสิ่งที่เขาจะกล่าว เมื่อเปิดพื้นให้สามารถมาฟังได้ ชาวเมืองมากมายก็พากันมาดู เหล่าวีรบุรุษและวีรสตรีแห่งอาริกาเซียที่ปกป้องและขับไล่ผู้รุกรานออกจากอาริกาเซีย

“เราขอขอบคุณพวกคุณทุกคน ไม่ว่าจะเป็นทหารหรือประชาชน แค่คำขอบคุณของผมมันอาจจะไม่พอเสียด้วยซํ่า… ไม่ว่าผู้ที่ยังคงยื่นอยู่ หรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว พวกท่านคือผู้กล้าที่ได้ลุกขึ้นมาสู้กับจักรวรรดิผู้ปกครองอย่างโหดร้าย ด้วยความสามัคคี พวกท่านได้ยอมรับบทบาทหน้าที่สำคัญและช่วยให้อาริกาเซีย เป็นอิสระ!”

เสียงตบมือของชาวเมืองดังหลังได้ยินสิ่งที่ลาสปราศรัย เสียงชื่นชมให้แก่ผู้กล้าหาญที่ตั้งแถวอย่างมีระเบียบ ใบหน้าของพวกเขาภูมิใจ พวกเขาเชื่อว่ามิตรสหายผู้ซึ่งไม่ได้มายื่นอยู่ก็คงดีใจอย่างแน่นอนหาก… พวกเขามีชีวิตอยู่…

“ สงครามได้จบไปแล้ว!! แต่ไม่ได้หมายความว่าการต่อสู้จะจบลง อาริกาเซียคือดินแดนแห่งโอกาส เสรีภาพ เสมอภาค และความยุติธรรม! จงจดจำว่าพวกเขาคือประชาชนของสาธารณรัฐแห่งแรกของอองโทราล รัฐที่ปกครองโดยประชาชน เพื่อประชาชน สาธารณรัฐแห่งนี้ยังคงมีการทดสอบที่ยิ่งใหญ่อยู่ภายภาคหน้า เราได้รับอิสรภาพมาแล้ว! แต่จงอย่าได้ทำให้มันสูญเปล่า พวกเราต้องแสดงให้ทั่วอองโทราลได้เห็นว่า พวกเราคือการเริ่มต้นของยุคใหม่!

อาริกาเซียดินแดนแห่งเสรีภาพ ดวงประทีปแห่งความหวังและโอกาส

“พวกคุณทุกคนคือแนวหน้าของยุคใหม่ พวกคุณทุกคนจะได้มีสิทธิ์มีเสียงให้กับประเทศชาติ พวกคุณคือผู้บุกเบิกสาธารณรัฐอาริกาเซีย! จงจดจำผู้ที่ยอมแลกชีวิตเพื่อเปิดเส้นทางแห่งความหวัง พวกเขาไม่อาจจะเห็นสิ่งที่พวกเขาสู้แล้ว เพราะงั้นอย่าให้ความหวังของพวกเขาได้หายไปอย่างไร้ค่า!”

“เรื่องสุดท้ายที่ผมอยากจะพูดพวกคุณเองก็คงรู้กันแล้ว ผม… ผมจะลงจากตำแหน่งผู้บัญชาการสูงสุด” แม้ว่าหลายคนยังคงกังวลเมื่อดักลาสได้ลงจากตำแหน่งผู้บัญชาการแล้ว จะไม่มีคนสามารถมาแทนที่ได้ ลาสจึงบอกไปว่าสงครามยุติแล้ว ทำไมต้องหยิบอาวุธขึ้นมาสู้กับความว่างเปล่ากัน? จึงทำให้นายทหารที่ยังคงอยู่ในกองกำลังภาคพื้นทวีปหยุดการทักท้วง

เป็นที่แน่นอนว่าลาสต้องการที่จะออกจากการเป็นทหารแล้วไปอยู่ในการปกครอง หรือกลับไปใช้ชีวิตเส้นทางการเมืองอย่างเป็นทางการอีกครั้ง หากมีคนรู้ความจริงนี้มีหวังค่าความชื่นชอบที่ชายหนุ่มได้ลดลงอย่างแน่นอน…

ไม่นานหลังจากที่ดักลาสประกาศออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการสูงสุดต่อสาธารณชน ข่าวที่ใหญ่หลังจากชายหนุ่มก็เป็นของ ดรูว์ แมคคอล ชายวัยชราที่นั่งอยู่ในตำแหน่งประธานแห่งสภานิติบัญญัติก็ได้ก้าวเท้าลงจากตำแหน่งอันสำคัญของอาริกาเซีย เหตุการณ์ดังกล่าวได้สร้างความตื่นตกใจให้กับผู้แทนมลรัฐหลายคน คนที่มาแทนตำแหน่งชายวัยชราก็เป็นลูกสาวของเขาเอง หญิงสาวหูแมว เทลลามาซีร์ แมคคอล

อาริกาเซียเริ่มต้นการบูรณะรักษาหลังสงคราม ชาวอาริกาเซียจำนวนมากเสียชีวิตในสงครามตั้งแต่ 3925-3929 เป็นระยะเวลา 4 ปี จำนวน 9 หมื่นรวมไปถึงประชาชน (ประชากรในอาริกาเซียยังไม่มีการคำนวณที่แน่ชัด รวมผู้ย้ายถิ่นฐานแล้วเพียงประมาณแค่ 8-10 ล้านคน) มากกว่าฝั่งลีโอเนียเป็นเท่าตัว (กำลังทหารที่ถูกส่งมาเพียงแค่ 5 หมื่นกว่าคน ทหารรับจ้างอีกไม่ทราบจำนวน)

การบูรณะอาณานิคมเริ่มต้นด้วยการซ่อมแซมถนน ท่าเรือ หมู่บ้านน้อยใหญ่ และเมืองในมลรัฐต่างๆ ที่ถูกเผาทำลายโดยทหารลีโอเนีย นอกจากการซ่อมแซมแล้วก็เป็นการดูแลรักษาความสงบหลังสงคราม กองโจรมากมายที่ใช้โอกาสของสงครามทำความเดือดร้อนให้กับชาวอาริกาเซียอย่างมาก หน่วยทหารที่ยังไม่ถูกปลดเข้าดูแลเส้นทาง และปราบกองโจรที่แอบซ่อนตัวอยู่ ด้วยความช่วยเหลือโดยกลุ่มแสงตะวันออกที่รู้เส้นทางมากมายบนอาริกาเซีย ทำให้โจรป่าถูกกำจัดอย่างรวดเร็ว

ปัญหาหลักในสมาพันธรัฐอาริกาเซียก็คงมีเพียงแค่การปกครองของรัฐบาลกลาง และ หนี้สงครามจำนวนมาก ซึ่งถูกเปิดเผยหลังจบสงครามโดยกลุ่มสมาพันธ์การค้า พวกเขาต้องกินเส้นทันทีเมื่ออาริกาเซียได้รับอิสรภาพ ทำให้รัฐบาลการซึ่งยังคงทดลอง และไม่มีตัวตนจริงๆนอกจากผู้แทนแต่ล่ะมมลรัฐที่ทำงานอยู่ในสภานิติบัญญัติประจำจังหวัด

แม้ว่าอาริกาเซียจะมีรัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการในช่วงสงคราม แต่เมื่อสงครามได้สิ้นสุดจริงๆ ผู้ปกครองหรือผู้แทนบางมลรัฐก็เริ่มที่จะมีความต้อง แก้ไขหรือลดอำนาจ เพื่อเพิ่มอำนาจในการปกครองดินแดนของตัวเอง ทำให้ปัญหาภายในสภานิติบัญญัติยิ่งแล้วไปใหญ่ แน่นอนว่าความแตกแยกที่เกิดให้ทำให้ประธานในที่ประชุมอย่างเทลลามาซีร์ต้องปวดหัวอย่างหนักเธอกล่าวในที่ประชุม “พวกเราชนะสงครามได้อย่างง่ายดาย แต่พอเป็นการปกครองกลับยุ่งยากลำบากเสีย” นอกจากรัฐบาลกลางที่ว่างเปล่าแล้ว ความแตกแยกก็เริ่มเผยให้เห็นอย่างชัดเจน ตอนเหนือเริ่มมีการเรียกอดีตทาสกลับมาทำงานที่ไร่อีกครั้ง พวกเขาไม่เรียกทาสแต่เป็นลูกจ้างติดหนี้ ทำให้เกิดการลุกฮือของอดีตทาสที่ถูกจับตามล่าโดยทหารรับจ้าง

พระเจ้า!? หลายคนยังคงตกอยู่ในภวังค์แห่งอิสระ ขณะบ้านเมืองกำลังลุกเป็นไฟ

ภายในระยะเวลา 1 ปี มีเรื่องมากมายเกิดขึ้นในทวีปโลกใหม่ ต่อให้บ้านเมืองหลังสงครามกำลังจะกลับไปเป็นการแบ่งแยกอำนาจ แต่ประชาชนนั้นเห็นแตกต่าง พวกเขาเห็นการเริ่มต้นใหม่ เด็กน้อยที่ได้ลืมตาดูโลกหลังสิ้นสุดสงคราม บ้านเมืองไร่แปลงหลังจากการต่อสู้ ผู้คนทิ้งอาวุธกลับมาทำงานในอาณานิคม พวกเขาเห็นความหลัง ป้ายสุสานผู้ถวายชีวิตเพื่ออิสรภาพ ลำนึกถึงผู้ที่ต่อสู้กับทรราชม่อาจจะเห็นความสำเร็จของตนเอง

บ้านสีขาวที่ใหญ่กว่าหลังใดในเมืองบอสตัน ตั้งอยู่ใกล้กับท่าเรือแบล็คโฟลฺ์ด ในจุดบ้านเรือนไม่มีใครไม่รู้จักบ้านของ ประธานสมาพันธ์การค้า ข้างในห้องเป็นห้องทำงานของเจ้าของบ้าน ซึ่งมีคนอยู่ภายในห้องอยู่ราวๆ 5 คน สมชาย ไวท์ แอร์นา เฟลิเซีย และ ผู้แทนจากเอคริสเปีย มานเนส ประธานสภาเทลลามาซีร์ แน่นอนว่าทุกคนภายในห้องเป็นกลุ่ม ลูกหลานของอาริกาเซีย แม้ว่าลาสจะบอกว่าให้เปลี่ยนชื่อ แต่ก็ไม่มีใครคิดจะเปลี่ยน…

“เราไม่อยากจะเชื่อ แม้แต่เบอร์เกนและแคนน่านต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ!? พวกเขาเป็นบ้าอะไรไป พวกเราอุสาชนะสงคราม แต่เมื่อจบสงครามกลับแบ่งแยกกันซะงั้น!” ไวท์กล่าวอย่างมีโทสะ เธอไว้ใจผู้แทนตอนใต้ที่ช่วยกันคิดและสร้างรัฐบาลกลางด้วยแรงใจและหยาดเหงื่อ

“หากเป็นข้าก็คงต้องการเพิ่มอำนาจให้ดินแดนบ้านเกิดของตัวเอง” มานเนสกล่าว

เขาผู้เป็นคนปกครองดินแดนเอคริสเปียรู้ดีว่ามลรัฐอิสระต้องการสิ่งใด เพราะตัวเขาก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ต้องการให้ดินแดนตัวเองเจริญ แน่นอนว่าคำพูดของผู้แทนเอเคริสเปียทำให้ไวท์ต้องขมวดคิ้ว ก่อนที่ทั้งสองจะได้ทะเลาะกันจนเกินเลยไปมากกว่านี้ เฟลิเซียก็ได้กล่าวขึ้น

“ในตอนนี้ทุกคนกำลังยุ่งกับการบูรณะดินแดนหลังสงคราม พวกเราควรที่จะเริ่มคิดสิ่งที่สำคัญกว่าการกล่าวโทษผู้แทนคนอื่นๆ” เฟลิเซียหยุดมองไปยังเทลลามาซีร์ผู้มีขอบตาสีดำ เธอทำงานหลังจากที่บิดาของเธอลงจากตำแหน่ง บางครั้งหลังจากที่เธอกลับบ้าน หญิงสาวก็จะร้องกับบิดาของเธอให้กลับมาทำงานเหมือนเดิม เพราะว่าการเป็นประธานของอาริกาเซียนั้นลำบากอย่างมาก งานบริหารและธุรการ เรียกว่าเธอถือว่าเป็นผู้นำของประเทศเล็กๆก็ว่าได้

“แล้วเมื่อท่านดักลาสเขียน'นโยบาย'อะไรนั้นเสร็จแล้วหรือยัง?” หญิงสาวหูแมวชะงัก “การปรับเปลี่ยนสภาให้เข้ากับรัฐบาลกลางกำลังจะเริ่มในอีกประมาณ 1 ถึง 2 ปี หลายคนในที่ประชุมยังไม่เข้าใจกับความหมายที่เขานำเสนอเท่าไร อะไรคือ สภาคองเกรส วุฒิสมาชิก กับ ผู้แทนราษฎร เราพอเข้าใจระบบสภาคู่ซึ่งอยู่ในรัฐธรรมนูญ แต่ว่าเรียกทำไมต้องเรียก วุฒิสภา และ สภาผู้แทนราษฎร และหมายความว่าเราต้องยอมให้ฝูงชนที่ไร้การศึกษาปกครองพวกรัฐบาลหรือไง? ไม่เข้าความคิดของชายผู้นั้นเลย!”

“ใครจะไปสามารถเข้าใจเจ้านั้นได้กัน?” ไวท์ตอบอย่างรวดเร็ว

“ออกจากตำแหน่งทหาร แล้วยังมาสั่งงานภายใน 2 ปีอีก เป็นชายที่โลภมากเสียจริง!”

“แต่ข้าแปลกใจจริงๆ ที่กล้าเลือกการสร้างความแตกแยกในการปกครอง มากกว่าการปกครองโดยกลุ่มเดียว” ประธานสมชายพูดขึ้น “เอาเถอะ เราเองก็ชอบระบบคณะเลือกตั้งเช่นกัน”

“คงจะเตรียมตัวระบบเลือกตั้งบนอาริกาเซียด้วยกระมัง? อ๊ะ เราเองก็วางแผนที่จะลงในสนามเลือกตั้งเช่นกันหาก” เฟลิเซียกล่าวตอบเทลลามาซีร์ เธอเองก็มีความต้องการที่จะนำประเทศอาริกาเซียไปในทางที่ดีกว่าเดิม

“การเปลี่ยนแปลงชนิดถอนรากถอนโคน เจ้าลาสเป็นชายที่แปลก ไม่แน่อาจจะบ้าทุกสุดในประวัติศาสตร์ก็เป็นไปได้” ไวท์กล่าวด้วยความตื่นเต้น ก่อนที่เสียงเปิดประตูจะเรียกความสนใจคนในห้อง “ขออนุญาตนะครับ” เป็นชายหนุ่มที่กำลังเป็นหัวข้อพูดคุยในขณะนี้ เขาเดินเ้ขามาภายในห้องด้วยใบหน้าที่ง่วงนอน หากคนในห้องรู้ว่าชายหนุ่มไม่ได้นอนเลยบางวัน พวกเขาคงจะไล่ไปนอนอย่างแน่นอน

“พูดถึงก็มาเลย ตายยากเสียจริง” ไวท์เปลี่ยนอารมณ์อย่างรวดเร็วเมื่อเห็นใบหน้าของชายหนุ่ม “เราบอกให้พักไม่ใช่หรือไง? นายมีเวลาเป็นปีๆ เลยนะ”

ชายหนุ่มหัวเราะเบาๆ และกล่าว “ฮ่าๆ การปฏิวัติไม่เคยรอใคร”

ก่อนที่ชายหนุ่มจะมองไปรอบๆห้อง วันนี้คนที่มาหาเขาน้อยกว่าเดิมอย่างมาก ดักลาสเอ่ยถามต่อ “มากันแค่นี้ใช่ไหมครับ? งั้นผมจะขอเริ่มเลยก็แล้วกัน เชิญอ่านและช่วยผมแก้ไขด้วย” ลาสยื่นกระดาษให้ทีล่ะคน ก่อนจะวางเอกสารจำนวนมากไว้ตรงกลางห้อง

“อาจจะต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง เพราะงั้นเตรียมตัวกันด้วยนะครับ”

หลายชั่วโมงคือความจริง แผ่นแรกที่พวกเขาอ่านกันเป็นวาระการประชุมที่เรียกได้ว่าครอบคลุมอย่างน่าตกใจ ดักลาสเคยทำงานในสภามาก่อน แต่สภาในโลกใบนี้แตกต่างจากโลกเดิมอย่างมาก โดยเฉพาะผู้แทนหลายคนเป็นผู้ปกครองดินแดน หรือลาสเรียกว่าชั้นสูงก็ว่าได้ ร่างกายของรัฐบาลกลาง (Federal) นั้นถูกสร้างไว้แล้วในช่วงสงคราม ใกล้จะพร้อมใช้งานจริงแล้ว สิ่งที่ขาดก็คงเป็นรัฐบาลใหม่ที่จะเข้าไปอยู่ในร่างกายนั้น

รัฐธรรมนูญฉบับแรกของอาริกาเซีย จะต้องปกป้องด้วยทุกอย่างที่มี ลาสจะไม่ยอมให้อาริกาเซียแตกแยก การแตกความสามัคคีในหมู่คณะ นำมาซึ่งความพินาศ และความเสียหายที่ต้องใช้เวลารักษายาวนานยิ่งกว่าสงคราม เหมือนกับสงครามการเมืองต่างๆในโลกเก่าของดักลาส ทุกอย่างที่เขียนในรัฐธรรมนูญนั้นถูกเขียนขึ้นด้วยผู้มีการศึกษาบนอาริกาเซีย ไม่ว่าจะเป็นการเลือกจัดตั้งผู้แทนในสภา ระยะเวลาที่จำกัด แน่นอนว่าหนึ่งในผู้ที่แอบช่วยสร้างรัฐธรรมนูญก็คือเขาเอง แต่ดักลาสก็ไม่สามารถเปิดเผยตัวเองได้ เพราะตัวเขาทำหน้าที่เป็นทหารไม่ใช่คณะผู้บริหารประเทศ

“ด้วยเหตุนี้… จึงต้องมีการเลือกผู้นำสูงสุดของรัฐคนแรกสินะ” ภายในห้องมองชายหนุ่มด้วยความรู้สึกหลากหลาย ชายที่เป็นต้นตอของความเปลี่ยนแปลง ชายผู้บัญชากองกำลังเข้าสู้กับลีโอเนีย กำลังพูดถึงให้ประชาชนเลือกผู้นำและคณะปกครองด้วยตัวเอง แทนที่จะให้ผู้ความรู้เป็นคนปกครอง

“ประธานาธิบดี” ลาสแก้คำ มันไม่ใช่คำที่สูงส่งยอดเยี่ยม ไม่ใช่เจ้าผู้อารักขา ไม่ใช่องค์ราชา หรือ จักรพรรดิ ไม่แม้แต่ท่านผู้นำสูงสุด แต่เป็นคำที่ต่อของประธานในที่ประชุม ประธานาธิบดี คำเรียกสามัญที่ใช้กัน

“แน่นอนว่า การเลือกตั้งครั้งแรกจะยังคงไม่เริ่มจนกว่าทุกอย่างจะเข้าที่เข้าทาง ต้องให้เวลากับอาริกาเซียเสียก่อน การปรับตัวเป็นให้เป็นรัฐอิสระอย่างแท้จริง ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ภายในวันเดียว การเลือกตั้งทางอ้อมเป็นจุดเริ่มต้นของระบบประชาธิปไตยของอองโทราล ถึงแม้ว่าผมอยากจะให้ประชาธิปไตยทางตรงมาเป็นจุดเริ่มต้น แต่อาริกาเซียนั้นไม่เหมาะสำหรับมัน… และอาจจะไม่ได้เห็น”

“เช่นนั้นผมขอตัวก่อนนะครับ! พอดีว่าต้องเตรียมช่วยดูแลโครงการรถไฟระหว่างเมืองใหญ่นะครับ” ก่อนที่ชายหนุ่มจะลุกขึ้น เขาไม่รอให้คนได้ถามต่อ ดักลาสหยิบเตรียมเดินออกจากห้องทันที แต่เหมือนชายหนุ่มนึกบางอย่างได้เขาหันไปพูดกับลุงสมชาย

“คุณลุง- อ๊ะไม่สิ ท่านประธาน” ลาสชะงัก “หลังจากนี้ผมอาจจะเปิดบริษัทในเมืองบอสตัน ผมจะมาพบกับคุณประธานเพื่อขอคำแนะนำบ่อยหน่อยนะครับ”

……

.

.

.

.

.

.

9 พฤษภาคม ศักราชอองโทราลที่ 3934

อะไรที่ทำให้อาริกาเซียแตกต่าง? นั้นคือคำถามของหญิงและชายที่อยู่บนเรือใบ มันมีจริงรึดินแดนที่จะสามารถเดินตามความฝันที่ตัวเองต้องการได้ ดินแดนที่ไม่ว่าจะเป็นคนเพศใดหรือเผ่าใดจะสามารถเติบโตและเจริญก้าวหน้าได้อย่างไม่ต้องกังวล เป็นอิสระจากอำนาจเผด็จการทรราช ‘ประเทศ’ พวกเขาเรียก ไม่ใช่อาณาจักรหรือแม้แต่จักรวรรดิ แต่เป็นสาธารณรัฐ ซึ่งอยู่ภายใต้ธงของเสรีภาพ ความยุติธรรม และความเสมอภาค เหล่าผู้แสวงหาการเริ่มตนบนโลกใหม่ ชื่อเล่นของทวีปอาริกาเซีย พวกเขาเดินทางข้ามมหาสมุทรอาจิเต้ที่ยากจะเอาชีวิตรอด เพื่อเสี่ยงดวงกับคำสัญญาที่ไม่ว่าเป็นจริงหรือไม่ คำสัญญาที่จะมอบไม่เพียงแค่โอกาส แต่ยังพร้อมยื่นมือเข้าช่วยเหลืออีกด้วย มันฟังน่าแล้วเป็นสิ่งที่เกิดจริง ไม่แน่ก็อาจจะเป็นคำหลอกลวง…

อาริกาเซียเปิดรับผู้อพยพอย่างปกติเช่นเคย ยุคแห่งสันติมาถึง เมื่อโจรสลัดใบเรือดำได้หายไปจากมหาสมุทร การเดินเรือมายังอาริกาเซียจึงได้ง่ายกว่าเดิม ไม่มีการปิดกั้นโดยสหจักรวรรดิ ในเมื่อาริกาเซีย มิใช่อาณานิคมของชาวลีโออีกต่อไป อาริกาเซียเป็นรัฐอิสระที่ไม่ขึ้นต่อใคร ตามที่ลีโอเนียกล่าวอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอาริกาเซียจะไม่ขึ้นตรงกับสหจักรวรรดิแล้ว แต่การค้านั้นยังไม่ได้เปิดให้อาณาจักรน้อยใหญ่ทั่วไปสามารถค้าขายได้ ในตอนนี้มีเพียงแค่ แฟแลงซ์ ลีโอเนีย เท่านั้นที่สามารถค้าขายกับอาริกาเซียได้ ส่วนอาเรน่าไม่ต้องการที่จะเปิดตลาดเพิ่ม

เรือแกลเลียนเข้าท่าทะเลลึก เสียงพูดคุยของชาวเมือง พ่อค้าและลูกจ้างช่วยกันขนสินค้าลงจากเรือ ก่อนจะตามมาด้วยผู้ย้ายถิ่นฐานหรือผู้อพยพ หนึ่งในผู้ที่เดินทางข้ามทวีปมานั้นเป็นชายวัยกลางคน

เขามาจากดินแดนของอาณาจักรทูเดีย ชื่อเดเมียน ชาวไร่ชาวนาที่อาศัยอยู่ในเขตปกครองของอาณาจักรขนาดกลางที่พ่ายแพ้สงครามใหญ่ไป ชีวิตในทูเดียนั้นยํ่าแย่ยิ่งกว่าดินแดนเพื่อนบ้าน เขาถูกไล่ออกโดยเจ้าที่ดินขุนนาง เดเมียนเดินทางลงใต้เพื่อไปอาศัยลี้ภัยและเริ่มต้นชีวิต เขาเคยได้ข่าวลือถึงดินแดนที่เปิดรับผู้ต้องการเริ่มชีวิตใหม่ คำเล่าข่าวลือมาจากปากของพ่อค้าของสมาพันธ์การค้าและชาวแฟแลงซ์บางคน แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ เสรีภาพทางศาสนา ทุกคนรู้ว่าดินแดนนั้นคืออดีตอาณานิคมของลีโอเนีย

เมื่อพูดถึงลีโอเนียแล้ว เดเมียนที่เชื่อในพระเจ้าที่แท้จริงอย่างเขาเป็นที่รังเกียจในหมู่ผู้ไม่นับถือศาสนา หากดินแดนนั้นไม่บังคับให้เขาเลิกสวดมนต์ทำพิธี เขาเองก็ต้องการเริ่มต้นชีวิตในดินแดนแห่งนั้น หากเลือกที่จะเสี่ยง ก็คงมีวิธีเดียว การยอมแลกชีวิตกับการทำงานใช้หนี้กับพวกพ่อค้า แน่นอนว่ามันยากอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ด้วยโชคที่เหลืออยู่ มันได้ช่วยเขามีชีวิตต่อไป เพราะพ่อค้าที่จะไปอาริกาเซียต้องการแรงงานโดยไม่เสียเงินมาช่วยขนของอยู่พอดี

นั้นคือเรื่องราวของชายจากทูเดียที่เดินทางมาบังอาริกาเซีย-

“เฮ้ย! เดเมียนเจ้ามาช่วยข้าถือของหน่อย” อดีตชาวไร่หันไปหาเสียงสั่ง เขาตอบอย่างรวดเร็ว

“แน่นอนขอรับ!” พ่อค้าที่ให้โอกาสชาวนากล่าวสั่งมา ตัวเขาเองก็ต้องรับมช้อย่างที่สุด เดเมียนรีบวิ่งไปช่วยถือของให้กับเขาอย่างเป็นมิตร พ่อค้าคนนี้แม้ว่าปากจะร้ายแต่ก็เป็นคนดีคนหนึ่ง

ทั้งสองกำลังจะเดินออกจากท่าเรือ จนกระทั่งมีทหารคนหนึ่งเดินมาหยุดพวกเขาถือแผ่นไม้ที่เต็มไปด้วยเอกสาร มีไม้กระบองสั้นติดข้างกาย ในขณะที่ผู้ที่เดินมาด้วยแขวนบ่าอาวุธคาบศิลาไว้ข้างหลัง

“ขอเอกสารด้วยครับ” ทหารคนที่ถือเอกสารสั่งพ่อค้า มองไปทางไหนก็จะเจอกับทหารที่ยื่นตรวจคนเข้าเมืองกันอย่างหนาแน่น แต่ช่างแปลก..

ปกติแล้วนายทหารอาริกาเซียจะอยู่ในเครื่องแบบที่ทำจากผ้าลินิน เสื้อกั๊กและสวมเสื้อคลุมสีนํ้าเงินเข็ม คอปกและปลายแขนสีแดงเวนิส กางเกงขาว และไทรคอร์ของอาณานิคม ซึ่งเป็นชุดในช่วงปลายสงคราม ซึ่งพ่อค้าก็ได้เห็นใน 4 ปีก่อน ระหว่างเดินทางออกจากอาริกาเซีย

แต่เหตุใด นายทหารคนนี้ถึงใส่เสื้อคลุมตัวหนาสีนํ้าเงินที่ปกปิดยาวถึงต้นขา หมวกแบนที่มียอดแหลม(Custodian helmet) ซึ่งมีตราเมืองบอสตันพร้อมอักษรอองโทราลเขียนว่า กรมตำรวจบอสตัน

“เออ… แต่ว่า… เหตุใดช่วงนี้ถึงมีการตรวจอย่างแน่นหนาหรือ ข้าอยากจะรู้นัก?” พ่อค้ากล่าวถาม ขณะที่ยื่นบัตรของสมาพันธ์การค้า เพราะเจ้าตัวเป็นคนของสมาพันธ์มานานแล้ว เขาถึงสามารถไปไหนมาในบนอาริกาเซียได้อย่างราบรื่นกว่าผู้อพยพหน้าใหม่

นายทหารตรวจสอบบัตรด้วยหินเวทมนตร์ที่สามารถตอบสนองกับบัตรของสมาพันธ์การค้า ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องตรวจสอบชั้นยอดว่าบัตรไหนเป็นของปลอมและอันไหนเป็นของจริง

“คุณไปอยู่อัลชลาฟไวส์ตั้งแต่ 4 ปีที่แล้วเหรอครับ?” นายทหารชะงักก่อนจะเขียนลงกระดานไม้และพูดตอบคำถามของพ่อค้าตรงหน้า “เข้าใจแล้วครับ ที่จริงแล้ววันนี้จะเป็นวันสุดท้ายของการเลือกตั้ง แน่นอนเพราะว่าคุณเกิดบนอาริกาเซีย คุณถือเป็นประชาชนของสมาพันธรัฐอย่าลืมไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งด้วยนะครับ”

เลือกตั้ง? ไม่ใช่ว่าอาริกาเซียปกครองด้วยสภาสูงหรอกรึ? 

พ่อค้ากล่าวอย่างงุนงง ปกติแล้วสภาอาริกาเซียก็เป็นพื้นที่ปกครองของชาวอาริกาเซียอยู่แล้ว ทำไมจะต้องมีการเลือกตั้ง หรือว่า เลือกตั้งประธานสภาใหม่ พ่อค้าผู้นี้ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี

“ฮ่า! ขนาดผมเองก็ยังไม่เชื่อเลยครับว่า 4-5 ปี อาริกาเซียจะเปลี่ยนไปจน ผมเองก็ยังไม่รู้สึกชินเลยครับ เอาไว้คุณเองก็เรียนรู้เอาเองไปก่อนนะครับ สำหรับอีกคน… ช่วยอธิบายตัวคุณ หากมีการโกหกผมคงต้องขอกักตัวนะครับ” นายทหารกล่าวก่อนจะหยิบลูกแก้วขนาดเล็กขึ้นมา

เดเมียนยื่นเล่าประวัติของเขาด้วยการยืนยันของพ่อค้า ทั้งสี่คนพูดคุยอยู่เกือบ 20 นาที ก่อนที่จะนายทหารจะหยุดจดลงกระดาษและฉีกมันให้กับเดเมียน เขากล่าวด้วยรอยยิ้ม “เอาล่ะ คุณเดเมียนต้องไปยืนยันที่อาคารไม้ตรงนั้น ส่วนคุณพ่อค้าก็เชิญนั่งรอสักครู่ที่ในตัวอาคารตรวจคนเข้าเมืองก่อนก็ได้นะครับ ยินดีต้อนรับสู่บอสตัน”

เดเมียนรู้สึกกังวลเล็กน้อย เอากลัวว่าเมื่อไม่มีเส้นสายของพ่อค้า เขาก็ไม่รู้จะพูดกับยามตรวจคนเข้าเมืองอย่างไร อดีตชาวนาเดินต่อแถวที่ยาวเหยียดในตัวอาคารตรวจคนเข้าเมือง มีหลายเผ่าพันธุ์หรือแม้แต่นักบวชจากแฟแลงซ์ก็ยื่นรอเข้าแถวกันอย่างมีระเบียบ ในทูเดียเป็นอาณาจักรมนุษย์ ทำให้บรรยากาศรอบตัวอดีตชาวนารู้สึกแปลกใหม่อย่างมาก เขารออีกหลายชั่วโมงก่อนจะคิวของเดเมียน

เดินเข้าไปข้างในก็พบกับกระจกที่มีคนตัวไปไม่สามารถหาได้ตั้งปิดกันระหว่างสองคนเอาไว้ เขาเดินและนั่งลงที่เก้าอี้ สายตาจับจ้องไปยังหญิงสาวที่มีหางเป็นงู ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็เป็นเผ่าลาเมีย เธอสวมแว่นและมีใบหน้าที่นิ่งจนอดีตชาวนาเริ่มกลัว

“เอกสารด้วยค่ะ” เดเมียนรีบหยิบเอกสารที่ได้มาจากนายทหารคนก่อนอย่างลุกลี้ลุกลน ก่อนจะวางไว้ที่ช่องใส่บนโต๊ะ ซึ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมที่ตัดผ่านกระจก ลาเมียอ่านอยู่สักครู่ก่อนจะถามชายตรงหน้า

“คุณเดเมียน ไม่มีนามสกุล  ”

นั้นคือจุดเริ่มต้นของเดเมียน ชายผู้ย้ายถิ่นฐานจากบ้านเกิดที่แสนห่างไกล อดีตชาวนาได้เริ่มต้นย้ายที่อยู่อาศัย ทิ้งอดีตและบ้านเกิด เขาไม่มีครอบครัวในทูเดีย เพราะงั้นก็ไม่ต้องห่วงอะไรอีกแล้ว เขาอาจจะต้องทำงานกับพ่อค้าไปอีกหลายปี แต่เมื่อใช้หนี้เสร็จ เขาก็คงเดินทางไปตั้งหลักปักฐานในดินแดนที่ยังไม่ได้สำรวจ…

8 กรกฎาคม ศักราชอองโทราลที่ 3934

ชาวเมืองจำนวนมาก ยื่นรอฟังเสียงจากเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกลางหรือผู้ประกาศข่าว อย่างที่หลายคนไม่เข้าใจและตกใจในเวลาเดียวกันที่ อาริกาเซียประกาศถึงการเลือกตั้งในปีที่แล้ว ก่อนจะเริ่มเลือกตั้งในปีนี้ มันสะเทือนทุกคนบนอาริกาเซียเมื่อมีการใช้รัฐธรรมนูญเลือกผู้นำสมาพันธรัฐ ทั้งๆ ตลอดสงครามและจบสงครามการปกครองเป็นของผู้แทน (เจ้าผู้ปกครองดินแดน) ในแต่ละมลรัฐ และนำโดยประธานในที่ประชุม แน่นอนว่าหลายคนนั้นยังไม่ได้รู้จักกับรัฐธรรมนูญอันเป็นพื้นบานกฎหมายสูงสุดของอาริกาเซีย การเลือกตั้งครั้งนี้ถือเป็นแนวทางแบบอย่างที่สำคัญสำหรับการเลือกตั้งในอนาคตของสาธารณรัฐอันเยาว์วัย การเลือกตั้งครั้งแรกได้มีการนำเสนอโดยคนในสภา บุคคลสำคัญผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี มีอยู่ด้วยกัน 3 คน ผู้ซึ่งเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวอาริกาเซีย

ดักลาส แมรี่แลนด์ อดีตนายพล และ ผู้แทนอาณานิคมอาริกาเซีย ดักลาสได้รับการสนับสนุนจากชื่อเสียงของเขา นอกจากในฐานะผู้บัญชาการที่ทำให้อาริกาเซียเป็นอิสระแล้ว ดักลาสถือเป็นคนที่ทำการปฏิรูปกองทหารรูปแบบใหม่ กรมข่าวสารที่ถูกใช้ประโยชน์เป็นบริการส่งจดหมายระหว่างรัฐ และอีกไม่นานจะกลายมาเป็นไปรษณีย์ที่แรกของอองโทราล ลาสได้ลงท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีพร้อมกับการเปิดเผยเรื่องต่างๆ ที่ทำให้หลายคนต้องตกใจยิ่งไปใหญ่

ลาสเป็นผู้เขียนหนังสือที่โด่งดังอย่าง ระฆังเสรีภาพ และอีกมากมาย ซึ่งถูกตีพิมพ์โดยผู้สนับสนุนอดีตขุนนางหญิงนามว่าฟรีเดอริเกะ ไม่พอแค่นั้นดักลาสยังประกาศ นโยบายที่เขาสาบานให้สัญญาว่าจะผลักดันให้สำเร็จหากเขาได้เป็นประธานาธิบดี มันเป็นนโยบายที่แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านซึ่งอยู่ในรับหน้าที่ตรวจสอบต้องตกใจ อดีตทหารผู้นี้สามารถเขียนได้ครอบคลุมและมีรายละเอียดอย่างชัดเจน นโยบายที่ทันสมัยเกินกว่าหลายคนจะเข้าใจ แต่กลับเหมาะสมกับความต้องการของสาธารณชนอาริกาเซีย อาริกาเซียยังคงต้องการยารักษาบาดแผล นโยบายของดักลาสล้วนเกี่ยวข้องกับการสร้างอาริกาเซียขึ้นมาจากพื้นดินที่ว่างเปล่า คำสัญญาเพื่อสิ่งที่ดีกว่าเดิม เพื่ออนาคตที่รุ่งเรืองสำหรับสมาพันธรัฐ

การสนับสนุนพ่อค้าแม่ค้าจากสมาพันธ์การค้า (การตกลงระหว่างผู้สนับสนุนในช่วงสงคราม) รวมไปถึงธุรกิจ กิจการต่างๆบนอาริกาเซีย การสนับสนุนกลุ่มชนชั้นล่างและชุมชนที่ห่างจากเมืองใหญ่ การสนับสนุนการศึกษา และอีกมากมาย นโยบายของดักลาสดึงดูดผู้คนในวงกว้างทุกคนจากอดีตทาสจนไปถึงผู้ปกครองที่ดินขนาดใหญ่ มันคือการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรง อย่างไรก็ตามความคิดเห็นของชาวอาริกาเซีย(ยกเว้นผู้ภักดีลีโอเนียที่ไม่ยอมกลับลีโอ)เป็นที่ชื่นชอบวีรบุรุษสงครามอย่างมาก

เฟลิเซีย สกาเล็ต คุณหญิงแห่งตระกูลสกาเล็ตที่ยิ่งใหญ่ หนึ่งในผู้แทนที่มีชื่อเสียงที่สุดในอดีตสภานิติบัญญัติ ถึงแม้ว่าเธอจะสนับสนุนสิ่งที่ผู้ท้าชิงดักลาสอภิปรายหรือประกาศในที่สาธารณะ แต่หญิงสาวเชื่อมั่นในความเป็นอาริกาเซียมาก่อนสิ่งใด

วาเลเรียน แชมเบอร์ส ผู้แทนหนึ่งผู้นำกลุ่มเหล่าผู้คนที่อยู่ตอนเหนือ แม้ว่าชาวงสงครามกิจกรรมของวาเลเรียนจะเงียบลง แต่ด้วยอำนาจที่ยังคงมีอยู่ทำให้เขาเป็นหนึ่งในผู้ท้าชิงคนสำคัญ

ต้องใช้เวลาเป็นสองเดือนเต็มๆที่กระบวนการลงคะแนนเสียงจะเสร็จสิ้น เป็นครั้งแรกที่ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนถูกใช้งานบนอาริกาเซียและอองโทราล คะแนนเสียงของประชาชนจะเป็นตัวสำคัญในการกำหนดจำนวนคณะผู้เลือกตั้ง จำกัดอายุผู้เลือกตั้ง 26 ปีขึ้นไป ทั้งหญิงและชาย มนุษย์และครึ่งมนุษย์ แต่ต้องเป็นชนชาติอาริกาเซียเท่านั้นถึงจะเลือกตั้งได้ ซึ่งหมายความว่าผู้อพยพในช่วงสงครามหรือผู้ที่เข้ามาหลังสงครามจะไม่สามารถใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้งได้ แม้ว่าผู้แทนหลายคนต้องการเปลี่ยนระบบที่วุ่นวายเช่นนี้ให้เป็น หนึ่งเสียงต่อหนึ่งผู้แทนรัฐซึ่งจะเป็น 11 เสียงเท่านั้น แต่ก็ไม่สามารถเปลี่ยนมันได้อย่างที่พวกเขาต้องการ…

และวันนี้เป็นวันที่ทุกคนตั้งตารอมานาน เสียงประกาศจากเจ้าหน้าที่ตะโกนเสียงดัง ชาวเมืองทุกคนหยุดนิ่ง ไม่มีใครแม้แต่จะเปิดปากพูด พวกเขาตัวสั่นเต็มไปด้วยความตื่นเต้นและลุ้นอย่างมาก

{ คณะเลือกตั้งได้ประกาศผลเป็นที่เรียบร้อย !! ประชาชนแห่งสมาพันธรัฐอาริกาเซียจงฟังข้า }

{ ดักลาส แมรี่แลนด์ ได้รับการเลือกตั้งให้เป็น }

{ ประธานาธิบดีคนแรกของสมาพันธรัฐอาริกาเซีย! }


ตอนหน้าจะมีประกาศเกี่ยวกับนิยายเจ้าค่ะ!

0 0 โหวต
Article Rating
0 Comments
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด