ตอนที่แล้วตอนที่ 14 จิ้งจอกเจ้าเล่ห์!
ทั้งหมดรายชื่อตอน
ตอนถัดไปตอนที่ 16 เก็บรายละเอียด

ตอนที่ 15 ออกแบบโรงจัดแสดงเสือ


ทะลุมิติมาสร้างสวนสัตว์ในฝัน ตอนที่ 15 ออกแบบโรงจัดแสดงเสือ

หลังจากที่เขาเดินออกมาจากกรงจิ้งจอก ฟางเย่ก็สามารถคาดเดาความสามารถของทักษะแรงดึงดูดนี้ได้

ด้วยความแข็งแกร่งของจิตใจเขาในตอนนี้ เขาสามารถใช้มันได้ 3 ครั้งต่อวันและแต่ละครั้งเป็นเวลา 10 นาที และด้วยความที่มันเป็นทักษะของระบบทําให้ผลของมันทําให้ได้ผลลัพย์ที่ดีมาก

แม้กระทั่งเสี่ยวเฉียว ที่เย็นชาและเกลียดการถูกคนสัมผัสก็ไม่สามารถทนต่อกลิ่นที่เขาปล่อยออกมาเมื่อใช้ทักษะ แรงดึงดูดได้ แม้ว่าหลังจากที่เวลาของทักษะได้หมดลง มันก็กลับมาดุร้ายเช่นเดิมก็เถอะ

ทว่าการที่เขาใช้ทักษะนี้ย่อมทําให้ความสัมพันธ์ระหว่างเขาและสัตว์เหล่านั้นใกล้ชิดกันมากขึ้น แม้ว่ามันจะไม่ได้รวดเร็วมากนัก แต่หากเขาเข้าใกล้มันเรื่อย ๆ ก็สามารถผูกมิตรกับเหล่าสัตว์ที่ขี้กลัวหรือดุร้ายได้ง่ายมาก

กลางคืน ที่ห้องพักของฟางเย่

เขาพึ่งทําการบันทึกประจําวันเสร็จ แล้วก็หยิบหนังสือว่างเปล่าอีกเล่มหนึ่งขึ้นมาแล้วก็วาดอะไรบางอย่าง

เขากําลังวางแผนสําหรับสร้างสวนสัตว์!

ด้วยระบบและฟังก์ชันการก่อสร้าง บวกกับการเดินสํารวจตลอดทั้งวันทําให้เขาเข้าใจสถานการณ์ของสวนสัตว์หลินไห่ได้อย่างดี

ขั้นแรกก็คือการกําาหนดขนาดของสวนสัตว์

พื้นที่ 3 หมื่นตารางเมตรนั้นเพียงพอสําหรับสร้างส่วนจัดแสดงสัตว์ได้หลายตัว อีกทั้งสวนสัตว์หลินไม่ตั้งอยู่บริ เวณที่ค่อนข้างชนบทซึ่งล้อมรอบไปด้วยหุบเขา อีกทั้งยังไม่มีสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้ทําให้การขยับขยายสามารถทําได้โดยง่าย

แต่ทางการจะยอมให้ที่ดินกับเขาหรือไม่นะเหรอ?

สวนสัตว์ที่มีชื่อเสียงย่อมทําให้เมืองมีชื่อเสียงที่ดีตามไปด้วย

ไม่ต้องพูดถึงภาพลักษณ์ของเมืองที่จะดูดีขึ้น เพียงแค่ธุรกิจการท่องเที่ยวที่ดีมากขึ้นก็ทําให้เศรษฐกิจของเมืองดีขึ้น ไปด้วย อีกอย่างฟางเย่ก็ยินดีที่จะจ่ายเงินเพื่อก่อสร้างด้วยตนเอง ถ้าอย่างนั้นทางการจะไม่พอใจอะไรได้อีก?

ต่อไปก็คือทางเข้า

ทางเข้าของสวนสัตว์ไม่จําเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลง ส่วนถัดจากทางเข้าหลักที่เป็นพื้นที่โล่งก็ควรปรับให้เป็นลานจอดรถ

ประตูทางเข้าออกที่เฉพาะพนักงานเท่านั้นที่สามารถใช้งานได้ เพื่อทําการขนส่ง

ฟางเย่เลือกพื้นที่ที่ห่างจากทางเข้าหลักเล็กน้อย พร้อมกับวางออฟฟิศและห้องเก็บของใกล้กับประตูทางเข้าพนักงาน

เมื่อเดินเข้ามาในสวนสัตว์ก็จะเป็นสี่แยกเล็ก ๆ ซึ่งจะเชื่อมกับส่วนการค้า

ลานจอดรถ ออฟฟิศ สี่แยกและส่วนการค้า

เขาวางแผนพื้นที่ที่จัดการง่ายก่อน

ส่วนจัดแสดงสัตว์กับเส้นทางเดินของนักท่องเที่ยว

ฟางเย่วาดรูปไปเรื่อย ๆ พร้อมกับเหลือบมองแบบจําลองของสวนสัตว์ที่ลอยอยู่แล้วก็วางแผนต่อไป

ภาพของสวนสัตว์ของเขาเริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น ซึ่งทั้งสวนสัตว์ถูกวางให้เหมือนกับกําไล

ส่วนจัดแสดงสัตว์และพื้นที่พักผ่อนเป็นเหมือนไข่มุกบนกําไล ในขณะที่ทางเดินของนักท่องเที่ยวเป็นเหมือนกับเชือกที่เชื่อมโยงไข่มุกทั้งหมดเข้าด้วยกัน

หลังจากที่เดินเข้ามาในสวนสัตว์ นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมส่วนจัดแสดงของสัตว์ทุกตัวได้โดยการเดินตามทางหลักไปเรื่อย ๆ

แต่แน่นอนว่าพวกเขาก็สามารถเลือกเส้นทางได้ด้วยตนเองผ่านส่วนกลางของสวนสัตว์

สุดท้ายก็คือพื้นที่สําหรับการทํางาน ไม่ว่าจะเป็นศูนย์ดูแลสัตว์ โรงพยาบาลสัตว์ ส่วนจัดเก็บและทําอาหารสัตว์

โดยสิ่งก่อสร้างเหล่านี้จะถูกสร้างให้ไกลออกไปจากส่วนจัดแสดงของสวนสัตว์ให้มากที่สุด

ในขณะที่เขากําลังคิดอยู่ก็มีเสียงของระบบดังขึ้น

ติ้ง! [ตรวจพบแบบร่างของสวนสัตว์ที่สามารถใช้งานได้! กําลังแสกน... โฮสต์ต้องการใช้ 1 พันเหรียญใบไม้เพื่อปรับแต่งแบบร่างดังกล่าวหรือไม่]

ฟางเย่ตกใจไปซักพักก่อนจะพูดขึ้นด้วยความสุข “ปรับแต่งเลย!”

เขาไม่คิดมาก่อนว่าระบบจะมีฟังก์ชันแบบนี้อยู่ด้วย เพราะเขาไม่เคยออกแบบสวนสัตว์มาก่อน ซึ่งนั่นหมายความว่าต้องมีบางส่วนที่ผิดพลาดอย่างแน่นอน

เขาเพียงแค่ต้องจ่ายเหรียญใบไม้เพื่อแก้ปัญหานี้ และแบบร่างของสวนสัตว์แบบใหม่ก็ปรากฏขึ้นมา

เมือรวมกับสภาพภูมิประเทศของสวนสัตว์ มันจึงมีการปรับแต่งบางส่วนจากแบบร่างเดิมและทําให้สวนสัตว์ที่

ปรากฏขึ้นมามีความสมเหตุสมผลมากขึ้น และกลบช่องว่างที่เขาลืมทํา ไม่ว่าจะเป็นศูนย์ผลิตน้ํา เส้นทางการถ่ายโอนของเสียและศูนย์จัดการของเสีย

ฟางเย่ถอนหายใจแล้วเปลี่ยนไปในส่วนจัดแสดงเสือ

นี่คือสิ่งที่เขาถนัดที่สุด!

ส่วนจัดแสดงเสือถูกแบบออกเป็น พื้นที่จัดการและถ่ายโอนวัสดุ พื้นที่จัดแสดงสัตว์และสุดท้ายก็คือพื้นที่สําหรับนักท่องเที่ยวทางสวนสัตว์ทั่วไปก็จะมีพื้นที่ให้นักท่องเที่ยวอยู่รอบ ๆ กรงสัตว์ ซึ่งทําให้นักท่องเที่ยวสามารถมองสัตว์ได้ตลอดทุกทิศ

แต่การออกแบบแบบนี้จะทําให้สัตว์รู้สึกตึงเครียดเนื่องจากมีคนมองมันอยู่ตลอดเวลา ทําให้ฟางเย่วางรูปแบบให้มี

พื้นที่ดูสัตว์ของนักท่องเที่ยวโค้งเข้ามาเล็กน้อย

หากมองจากด้านบนก็จะเหมือนกับแตงโมครึ่งซีกกลม ๆ

พื้นที่สําหรับใช้ในการดูสัตว์ของนักท่องเที่ยวถูกแบ่งออกเป็นหลายส่วน

ส่วนแรกคือส่วนที่ถูกกั้นไว้ด้วยร่องลึก ซึ่งสร้างขึ้นจากความเข้าใจในพฤติกรรมของสัตว์ เช่น เสือสามารถกระโดดได้สูง 2 - 3 เมตรและกว้าง 5 - 8 เมตร

พวกเขาจะขุนหลุม 5 เมตรและทําให้มันห่างจากขอบด้านบน 9 เมตร อีกทั้งเขายังวางหินไว้โดยไม่มีต้นไม้สีเขียวเพื่อ ทําให้เสือไม่เกิดความสนใจในพื้นที่บริเวณขอบตรงนี้ ซึ่งช่วยลดโอกาสให้เสือมาใกล้จุดนี้ได้ อีกทั้งด้านบนยังถูกกั้นเอาไว้และ กําแพงก็จะถูกออกแบบให้เสือไม่สามารถปีนได้

ด้วยวิธีการนี้จะทําให้พวกเขาไม่จําเป็นจะต้องสร้างรั้วได้ และทําให้พวกเขาสามารถควบคุมสัตว์ได้โดยไม่ทําให้มันทําร้ายนักท่องเที่ยว

และที่บริเวณขอบของพื้นของสัตว์ก็จะมีการสร้างพุ่มไม้สูงเพื่อปิดบังร่องขนาดใหญ่นี้ให้มากที่สุด อีกทั้งการออกแบบลักษณะนี้ก็ช่วยให้สร้างส่วนจัดแสดงที่มีความใกล้เคียงกับธรรมชาติได้มากที่สุด

ราวกับทําให้นักท่องเที่ยวรู้สึกเหมือนได้เข้าไปอยู่ในป่ากับสัตว์เหล่านั้น เช่นหากมีนักท่องเที่ยวมาชมแล้วพบว่ามีเสือจ้องมองเขาอยู่จากระยะประมาณ 10 เมตร ...

ฉากนั้นมันคงตราตรึงใจเขาไปไม่รู้ลืม!

หรือไม่เขาก็อาจจะตื่นเต้นจนต้องหยิบกล้องขึ้นมาถ่ายแล้วส่งไปให้เพื่อนของเขาดูพร้อมกับบอกว่า “ว้าว! ฉันพึ่งเคยเห็นเสือใกล้ ๆ แบบนี้เป็นครั้งแรกเลย!”

แต่แม้ว่ามันจะมีข้อดีมากมายแต่มันก็มีข้อเสียคือมันต้องใช้พื้นที่มากเกินไป ซึ่งนั่นจะลดระยะพื้นทีของสัตว์ลงไปได้

ต่อมาเขาก็จัดวางชั้นล่าง ซึ่งจะถูกกั้นด้วยกําแพงกระจกขนาดใหญ่ ซึ่งจะทําให้พวกเขาไม่รบกวนสัตว์มาเกินไปและทํา ให้พวกเขาได้มองสัตว์เหล่านั้นในระยะที่ใกล้ขึ้น

ในชั้นนี้ก็จะมีการจัดวางป้ายเพื่อให้ความรู้เรื่องการรักษาสัตว์ ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยที่ป้ายด้านล่างจะเป็น รูปต่าง ๆ เพื่อให้เด็กตัวเล็กเข้าใจ ในขณะที่ด้านบนก็จะเป็นเนื้อหาที่อธิบายอย่างละเอียดมากขึ้นซึ่งเหมาะกับผู้ใหญ่

ซึ่งนี่จะทําให้กระตุ้นให้พ่อแม่ช่วยอธิบายบางอย่างให้กับลูกของตน และเป็นการทําให้เด็ก ๆ ชื่นชมพ่อแม่ของตนมากขึ้น

อีกทั้งยังมีชั้นหนังสือที่จะมีวารสารเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์วางไว้ รวมถึงมีหน้าจอแสดงสารคดีเกี่ยวกับเสือเพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้าใจเกี่ยวกับเสือมากขึ้น

อาจจะมีการวางแผนผังเกี่ยวกับตระกูลของเสือ กระบวนการวิวัฒนาการของเสือและบทบาทของมันในระบบนิเวศวางโมเดลเสือไว้ที่ตรงกลาง เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาถ่ายรูปหรือลองขี่เสือดูสักครั้ง

เสือตัวเป็น ๆ ไม่สามารถจับได้ แต่เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว พวกเขาก็สามารถสร้างความพึงพอ ใจให้พวกเขาผ่านโมเดลเสือตัวนี้ได้

บางครั้งเขาก็อาจจะทํากิจกรรมเล็ก ๆ เช่นการแข่งขันวาดรูป หรือไม่ก็ความรู้เกี่ยวกับเสือ โดยให้เด็ก ๆ เข้าร่วมและ สร้างความสนุกสนานให้พวกเขา โดยที่อาจจะใช้ตุ๊กตาเสือที่แสนน่ารักเป็นรางวัล

เขาเชื่อว่าใครก็ตามที่มายังส่วนจัดแสดงนี้จะเข้าใจในเสือมากขึ้น และเข้าใจว่าทําไมพวกเขาถึงต้องปกป้องมันไม่ให้สูญพันธ์

0 0 โหวต
Article Rating
0 Comments
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด