ตอนที่แล้วการหวนคืนของจอมพลคนสุดท้าย ตอนที่ 5 การเข้าพบ จักรพรรดิสวรรค์ 2
ทั้งหมดรายชื่อตอน
ตอนถัดไปการหวนคืนของจอมพลคนสุดท้าย ตอนที่ 7 คำเตือนจากระบบ

การหวนคืนของจอมพลคนสุดท้าย ตอนที่ 6 ภาษีฟุ่มเฟื่อย


ตอนที่ 6 ภาษีฟุ่มเฟื่อย

ทั้งสองมองหน้ากันทันทีหลังผมพูดไป ภาษีฟุ่มเฟือย! ตอนนี้มันไม่แปกลที่สองคนนี้จะไม่รู้จักเพราะโลกนี้เรื่องการพัฒนาในหลายๆเรื่อง ยังไม่เท่าโลกที่ผมจากมาในสมัยก่อนเลยด้วยซ้ำ พูดให้ถูกผมคงโดนส่งมาในยุคกลางของโลกที่ผมจากมา ซึ่งชื่อของมันก็บอกอยู่แล้วว่ายุคกลาง ความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถของผู้คน มันยังไม่พัฒนาเลยสักนิด แต่ว่า ถ้าในเรื่องของความโหดแล้วไม่ต้องพูดถึง ดีนะที่โลกนี้ไม่มีการล่าแม่มดปรากฏออกมาให้เห็นถ้าไม่งั้นได้ปวดหัวยาวอีกแน่

ตอนนี้คงต้องเริ่มอธิบายเพิ่มไปอีก

“พวกท่านอาจจะสงสัยว่ามันเป็นแบบไหน ถ้างั้นข้าจะบอกแนวคิดของข้าให้พวกท่านฟังก็แล้วกัน  อันดับแรก ข้าขอถามพวกท่านก่อนว่าพวกมีเงินเช่นขุนนางส่วนมากใช้ชีวิตแบบไหนกัน”

“นี่...”

อัครเสนบดี ไอรอน เหมือนจะพูดอะไรออกมา แต่สุดท้ายก็ไม่พูดออกมา

ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วที่เขาไม่พูดออกมาเพราะมันเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็รู้ ความฟุ่มเฟือย ความหรูหรา ความสุขสบาย ขุนนางจักรวรรดิอยู่ในยุคแบบนั้นมานานหลายสิบปี และสุขสบายเกินไป คงพูดออกมาไม่ลงนั้นแหละเพราะพวกท่านทั้งสองก็ปล่อยเรื่องนี้ให้มันเกิดขึ้นเอง แถมเกิดมานับสิบปีแล้วด้วย

“ความหรูหรา งานเลี้ยงแทบทุกวัน บ้านขนาดใหญ่เกินไปแถมบางคนยังมีหลายหลัง อีกทั้งยังมีเครื่องประดับมากมายของเหล่าสตี  เรื่องนี้มันสามารถเชื่อมไปยังปัญหาที่สองได้แต่ตอนนี้ข้าอยากคุยเรื่องปัญหาที่หนึ่งก่อน”

จักรพรรดิสวรรค์และอัครเสนบดี ไอรอน พยักหน้าพร้อมกัน

ตอนนี้ปัญหาจักรวรรดิมันมีมากเกินไป ถ้าจะแก้ผมคงต้องบอกแบบนี้เป็นวันๆ หรือบางครั้งอาจเป็นเดือนถึงจะสามารถแก้ไขได้หมด แต่ผมไม่มีเวลาขนาดนั้น ตอนนี้คงทำได้เพียงชี้ทางแล้วให้ทั้งสองไปหาทางออกกันเอาเอง

“ราชวงศ์ต้องออกกฎหมายเก็บภาษีสินค้าราคาแพง เช่น เครื่องประดับ บ้านขนาดใหญ่ จำนวนคนรับใช้หรือทหารที่มากเกินไปก็ต้องเสียภาษีเพิ่ม เช่น มีบ้านหนึ่งหลังเสียภาษี 1 เหรียญทอง มีสองหลังเสีย 5 เหรียญทอง มี 3 หลังเสีย 20 เหรียญทอง ถ้าเพิ่มขนาดนี้พวกขุนนางส่วนมากคงรับรายจ่านไม่ไหว แบบนั้นก็จะเป็นการลดอำนาจทางการเมืองและการเงินพวกนั้นไปในตัว …แล้วเรื่องแบบนี้ ก็นำไปใช้อย่างอื่นด้วยเช่นกัน เช่น โรงน้ำชา สถานท่องเที่ยวยามค่ำคืน ร้านขายของ เพียงเท่านี้ปัญหาที่ 1 ก็สามารถแก้ไขได้แล้วครับ”

ตอนนี้คงบอกไปได้แค่นี้ เรื่องหลังจากนี้สองคนนี้คงสามารถหาทางออกไปเองได้

หลังผมพูดจบคนที่พูดออกมาก่อนคืออัครเสนบดี ไอรอน เขาทำหน้าครุนคิดสักพักก่อนจะพูดขึ้น

“แบบนี้เอง ถ้าเป็นแบบนั้นก็หมายถึงใครอยากมีอำนาจทางการเมืองก็จะต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อรักษามันไว้ กลับกัน ถ้าใครอยากมีเงินก็จะหมดอำนาจทางการเมืองไปเพราะต้องขายร้านค้าและทรัพย์สิ้นต่างๆ ที่จะทำให้ตัวเองเสียภาษีจำนวนมาก อื้ม… นับว่าเป็นทางออกทีดีจริงๆ”

“ข้าก็ก็คิดแบบนั้นเหมือนกัน ถ้าใช้วิธีนี้กลับของต่างๆ ข้าคิดว่าเหล่าขุนนางและเหล่าพ่อค้าต้องขายของที่พวกมันครอบครองทิ้งออกมาแทบหมด อีกอย่าง กฎหมายภาษีนี้ เหล่าประชาชนธรรมดาที่ไม่มีของครอบครองอยู่แล้วก็จะไม่ได้รับผลกระทบอะไรด้วย”

จักรพรรดิสวรรค์ พูดออกมาด้วยสีหน้าคิดตาม

ทั้งสองคนที่พูดออกมาไม่ได้มองหน้ากันหรือมองมาทางผม แต่ทั้งสองคนกลับมาด้านหน้าของตัวเองราวกับว่ากำลังคุยกับตัวเองอยู่ ท่าทางแบบนี้ช่างน่าคิดถึงจริงๆ ในช่วงที่ผมเป็นจอมพลคนสุดท้ายผมเสนอความคิดอะไรออกไปพวกกรมทหาร กรมบริหาร กรมครัวเรือน ก็มีท่าทางไม่ต่างจากสองคนนี้เลย

จักรวรรดิโดนแบ่งกรมออกทั้งหมด 5 กรม ในการจัดการ

1.กรมทหาร พวกนี้ทำหน้าที่ทางทหารทั้งหมดของอาณาจักร พอเวลาเสนอแผนใหม่อะไรให้ก็ทำหน้าทำตาแบบทั้งสองคนตลอด

2.กรมบริหาร กรมนี้หน้าที่คือดูแลเรื่องการเงินทั้งหมดของจักรวรรดิ ผมเคยเสนอระบบบัญชีคู่ไปเพราะแบบนั้นเลยสามารถตรวจหาเงินหายได้แบบง่ายๆ ในการเสนอครั้งนั้น ขุนนางกว่า 30% ต่างโดนลดขั้นหรือไล่ออกจากประเทศเป็นจำนวนมากเพราะการโกงเงินจากราชวงศ์

3. กรมครัวเรือน กรมนี้เป็นกรมดูแลเรื่องต่างๆ ตั้งแต่การสร้างเมือง การสร้างค่ายทหาร การสร้างอะไรต่ออะไรหลายๆอย่าง ผมก็เสนอการแบ่งโซนไปเพราะจะได้จัดผังเมืองได้ง่ายๆ โซนขายของ โซนที่พัก โซนโรงงาน เสนอแบบนั้นไปกเจอหน้าตกใจแบบนี้

4.กรมยุติธรรม ทำหน้าที่ตัดสินคดีต่างๆ กรมนี่ผมไม่ได้เข้าไปยุ่งด้วย ในยุคหายะนะกรมนี้ก็ไม่มีหน้าที่ให้ทำเลยด้วยซ้ำ เหมือนไม่มีตัวตนไปเลย

5. กรมพิธีการ จัดงานต่างๆ ไม่ว่าจะของขุนนางหรือคนธรรมดา แต่ช่างเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเพราะยุคหายะนะกรมนี้แหละที่หายไปเป็นกรมแรก งานที่มีให้จัดก็มีเพียงงานศพเท่านั้น เฮ้อ~

แต่ก็ดีแล้ว ตอนนี้ทั้งสองท่านก็น่าจะเข้าใจแล้วว่าผมต้องการจะสื่ออะไรและให้แก้ปัญหาแบบไหน

“ไอรอนเจ้ารีบไปบอกกรมบริหารทันทีเลย เรื่องนี้ถ้าพวกเราเคลื่อนไหวเร็วที่สุดพวกมันก็จะอ่อนแอลงเร็วเท่านั้น”

“ท่านไม่ต้องเป็นห่วง ข้าจะเร่งดำเนินการทันที”

“อืม…”

จักรพรรดสวรรค์ พยักหน้าขึ้นลงด้วยสีหน้าจริงจัง จากนั้นทั้งสองก็มองมาทางผมอีกครั้ง

“ถ้างั้นข้อสองละ พวกเราต้องทำยังไงนายคงรู้ใช่ไหมไคล์”

“ท่านอัครเสนาบดีไม่ต้องเป็นห่วง เรื่องนั้นเองข้าก็มีทางแก้แล้วเหมือนกัน”

“ฮาฮาฮา ดี! มันต้องแบบนี้สิงั้นก็บอกมาได้เลย”

ใบหน้าของอัครเสนบดี ไอรอน ยิ้มออกมาอย่างเห็นได้ชัด หลังจากได้ฟังแก้ปัญหาที่หนึ่งไปคงมีความเชื่อใจผมมากขึ้นแล้วสินะถึงได้รีบถามออกมาแบบนี้ อีกอย่าง ปัญหาข้อที่สองมันเลวร้ายกว่าปัญหาข้อแรกที่ผมหาทางแก้ให้ไปอีก

[ การไหลออกของทรัพยากร ]

ปัญหานี่แหละทีทำให้จักรวรรดิอ่อนแอลง ในช่วงก่อนที่ยุคหายะนะของมนุษย์จะมาถึง จักรวรรดิไม่ได้อยู่ในสภาพที่ดีเท่านัก นั้นเพราะต้องทำสงครามตลอดเวลากับประเทศรอบๆ และประเทศใหญ่ๆ ภายในทวีป ด้วยเหตุผลแบบนั้นทำให้จักรวรรดิอ่อนแอลงอย่างมากจากผลของสงครามที่ยาวนาน

แต่ว่า

ช่วงเวลานี้ประเทศรอบๆ ยังไม่กล้าต่อต้านหรือก่อสงคราม เหตุผลก็ง่ายๆ เรื่องที่พวกนั้นไม่กล้าก่อสงครามเพราะเกรงกลัวกำลังทหารของจักรวรรดิ แต่หลังจาการตายขอองค์จักรพรรดิสวรรค์ราชวงศ์ก็เริ่มชิงอำนาจกันและกันแล้วสุดท้ายก็ชักศึกเข้าบ้านโดยยืมกำลังรบจากประเทศต่างๆ

เพราะเรื่องแบบนั้น จักรวรรดิก็แตกออกเป็นหลายส่วนจนเกิดสงครามภายในขึ้น บวกกับประเทศอื่นๆ ได้รับแร่เหล็กและแร่ต่างๆ ที่สมควรมีแค่ทหารจักรวรรดิเท่านั้นที่ได้ใช้ไปอีก

ช่วงเวลานั้นผมยังจำได้ดี ช่วงเวลาแบบนั้นมันเป็นจุดเริ่มต้นยุคมืดของจักรวรรดิอย่างแท้จริง  หลังคิดเรื่องสมัยก่อนสักพักผมก็เริ่มตอบคำถามที่โดนถามไปว่า

“พวกเราต้องสร้างกำแพงภาษีขึ้นมาครับ !”

“เอาอีกแล้ว พูดอะไรไม่รู้เรื่องอีกแล้วเมื่อกี้ก็ภาษีฟุ่มเฟือย คราวนี้กำแพงภาษี คือปัญหาที่เจ้าคิดออกมาได้ทั้งหมดมันมีภาษีเป็นตัวตั้งตนหรือไง”

“องค์จักรพรรดิท่านอย่าพึงขัดไคล์สิครับ ข้าต้องการีบฟัง”

อัครเสนบดี ไอรอน ตอบกลับแทนผมทันที

“เอาละพูดออกมาต่อได้เลย กำแพงภาษีมันต้องทำยังไง”

“ครับ… อันดับแรกของที่โดนส่งออกจากจักรวรรดิตอนนี้คือพวกแร่เหล็กหรือแร่ที่ใช่ทำอาวุธใช่หรือไม่ เรื่องนั้นมันก็ง่ายๆ เพียงแค่เพิ่มราคาเท่านั้นแค่นี้พะ-”

“ไม่ได้หรอกแบบนั้น”

อัครเสนบดี ไอรอน ส่ายหน้าไปมา แต่เรื่องไม่ได้นะผมรู้อยู่แล้ว ถ้าเกิดเพิ่มราคาคนที่จะได้รับผลมันจะกลายเป็นคนของจักรวรรดิสะเอง แต่ว่า

“ท่านกำลังเข้าใจผิดครับ ท่านอัครเสนบดีที่เพิ่มนะคือราคาพวกที่เอาออกจากจักรวรรดิต่างหาก ส่วนพวกที่เอามาผลิตภายในจักรวรรดิก็ให้ซื้อขายในราคาเท่าเดิม”

“หืม…? ยังไงละ ถ้าแบ่งแยกได้ง่ายๆ ข้าคงไม่ต้องมานั่งปวดหัวแบบนี้หรอก พวกพ่อค้าที่มาซื้อส่วนมากคงไม่บอกว่าจะเอาออกนอกจักรวรรดิกันหรอก ในเมื่อจ่ายราคาถูกกว่าได้ทำไมพวกมันถึงต้องซื้อแร่ในราคาแพงด้วยกันละ? ”

หึ! สมชื่อจริงๆ ที่คิดออกมาได้ทันทีแบบนั้นหลังได้ยิน เรื่องที่อัครเสนบดี ไอรอน พูดออกมามันก็เป็นความจริงทั้งหมด ถ้าซื้อของถูกได้ ทำไมต้องซื้อของแพง เรื่องแบบนี้อย่าว่าแต่พ่อค้าเลยขนาดเด็กน้อยยังสามารถคิดเรื่องพวกนี้ได้ พอซื้อราคาใช้ในจักรวรรดิก็เอาส่งออกไปขายเรื่องการเพิ่มราคาก็ทำอะไรพวกมันไม่ได้แล้ว แต่มันไม่ง่ายขนาดนั้นหรอกถ้าเจอกับกำแพงภาษี

“งั้นท่านคิดว่าเวลาพ่อค้าซื้อแร่แล้วพวกนั้นจะส่งขายทางไหนกันครับ”

“ก็ต้องทางเรือแล้วก็ทางรถม้า ถ้าเป็นประเทศห่างไกลพวกพ่อค้าจะเลือกใช้เรือเพราะยังไงสะถึงมันจะช้าแต่ก็บรรทุกได้มาก แถมยังไม่ต้องเสียค่าภาษีผ่านทางให้ประเทศที่เดินทางผ่านด้วย ส่วนรถม้าถึงจะเสียมากว่านิดหน่อยแต่ถ้านับเวลาแล้วก็เร็วกว่าเรือพอสมควร”

ใช่แล้ว! การขนส่งโลกนี้ถูกแบ่งออกได้สองอย่าง หนึ่งทางม้า สองทางเรือ และข้อดีหรือข้อด้อยอัครเสนบดี ไอรอน ก็พูดออกมาหมดแล้ว

“ถ้างั้นทำไมพวกท่านไม่ตั้งด่านชายแดนขึ้นมาตามเส้นทางการเดินทางทั้งสองละ ท่าเรือก็ตั้งด่านเอาไว้เพื่อตรวจสอบในท่า ตามเส้นทางชายแดนก็ตั้งด่านเอาไว้ตรวจสอบและให้ทหารพวกนั้นเก็บราคาแร่ที่พ่อค้าจะเอาออกไปจากจักรวรรดิเพิ่มที่นั่น”

“อ่า~….”

“โอ้ว~”

ทั้งสองอุทานออกมาพร้อมกันหลังได้ฟังหลักการของผมไป นี่แหละสิ่งที่เรียกว่ากำแพงภาษีที่โลกผมจากมาชอบใช้กัน ถ้าอะไรที่ประเทศมีน้อยก็ต้องพยามรักษาเอาไว้ ซึ่ง ถ้าเกิดห้ามส่งออกมันก็จะกลายเป็นผลเสียในชื่อเสียงการซื้อขายของประเทศ แต่ว่า ถ้าสร้างกำแพงภาษีขึ้นมาเรื่องทุกอย่างมันก็ง่ายขึ้นเยอะ เช่น

ราคาเหล็ก 1 ตัน 10 เหรียญทอง แต่ ถ้าเอาจากประเทศราคาก็จะเพิ่มตามที่พวกเรากำหนดอย่างเช่น 20 , 30 หรือ 40 เหรียญทองต่อตัน เท่านี้ก็จะแก้ปัญหาเรื่องของสินค้ารั่วไหลออกจากประเทศได้แล้ว เรื่องนี้เอามาใช้กับจักรวรรดิตอนนี้ได้เช่นกัน

หึหึ! เท่านี้ประเทศรอบๆ ก็จะแข็งแกร่งน้อยลงไปเยอะ….

0 0 โหวต
Article Rating
0 Comments
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด